ทริคน่ารู้ขับรถยาวๆ อย่างไรไม่ให้ “ปวดหลัง”

0

ในระหว่างวันที่ 25-29 ตุลาคม พ.ศ.2560 มีการเปิดให้ประชาชน เข้าร่วมพิธีถวายดอกไม้จันทน์ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ งานนี้หลายครอบครัวจึงวางแผนขับรถเข้ากรุงเทพฯ เพื่อร่วมพิธีดังกล่าว จึงอาจสุ่มเสี่ยงกับสภาพการจราจรที่ติดขัด ไม่อยากให้ป่วยเมื่อยร่างกาย เรามีทริคดีๆ มาฝากค่ะ

ทริคน่ารู้… ขับรถยังไงไม่ให้ “ปวดหลัง”

how-to-drive-the-car-not-back-pain

  1. การปรับที่นั่งของผู้ขับรถยนต์มีความสำคัญยิ่ง เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลัง โดยเฉพาะการขับรถนานๆ ทั้งนี้ ต้องปรับที่นั่งให้เข้ากับตัวผู้ขับขี่ แต่การปรับต้องคำนึงถึงการมองเห็นของผู้ขับขี่ด้วย
  1. การปรับที่นั่งเริ่มจากปรับระยะนั่งใกล้-ไกลก่อน โดยให้ขาเหยียบคันเร่งพอดี และสามารถขยับเท้ามาเหยียบเบรกได้ง่ายและรวดเร็ว ระยะห่างนี้ต้องไม่ทำให้เข่าและสะโพกงอมากนัก จากนั้นปรับความเอียงของเบาะพิงหลัง ให้อยู่ในระดับที่ไม่ต้องใช้แรงในการยกคอและศีรษะขึ้นมาตั้งตรง
  1. การปรับการเอียงของเบาะนั่ง ควรปรับให้เบาะด้านหน้าสูงพอที่ระรับน้ำหนักขาได้ โดยที่ขาไม่ลอยสูงจากเบาะ (ลักษณะเข่าชัน) และเมื่อขับรถและมีการกดคันเร่งค้างนาน ๆ ด้านหน้าของเบาะต้องไม่กดหลังเข่า นอกจากนี้ควรระวังเรื่องการปรับความสูงต่ำของเบาะ เพราะถ้าเบาะเตี้ย จะทำให้ต้องปรับเบาะรถห่างจากพวงมาลัยมากขึ้นส่งผลต่อการงอของหลัง จากนั้นจึงปรับพวงมาลัยและกระจกส่องข้างและหลัง
  1. ควรหาที่หยุดพักรถทุก 2 ชั่วโมง โดยการลุกออกมาบริหารร่างกายด้วยการยืนแอ่นหลัง 10 วินาที 2-3 ครั้ง และเดินไปมาสัก 5 นาที ถ้าจำเป็นต้องอยู่ในที่นั่งเกิน 2 ชั่วโมง พยายามแอ่นหลังบ่อยๆ ในขณะขับรถ

นอกจากนี้ ประชาชนที่จะเข้าร่วมในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพและถวายดอกไม้จันทน์ ควรเตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของตนเอง เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ และพกยาประจำตัวมาด้วย ในส่วนของเด็ก ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวควรมีการพกรายละเอียดชื่อ ที่อยู่และโรคประจำตัวไว้ในกระเป๋าเสื้อหรือกางเกง เผื่อกรณีเกิดการพลัดหลงหรือเจ็บป่วยจะได้ช่วยเหลือได้ทันท่วงที

ทั้งนี้ การขับรถใช้พลังงานน้อยมากเมื่อเทียบกับงานอื่นๆ  จึงควรออกกำลังกายด้วยการเดินหรือวิ่งอย่างต่อเนื่องที่ทำให้เหนื่อยปานกลางอย่างน้อย 20 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อสุขภาพที่ดีค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *