อารมณ์เศร้าเกิน 3 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์!

0

ตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค. 2559 ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จสวรรคต คนไทยทุกคนก็ตกอยู่ในภาวะอันโศกเศร้าที่สูญเสียพระองค์ และยิ่งใกล้งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ คงยิ่งกระตุ้นให้ประชาชนไทยจะมีภาวะความโศกเศร้าทางอารมณ์มากขึ้น งานนี้ต้องช่วยกันระวังสุขภาพจิตของคนรอบข้างให้ดีนะคะ

depressed-mood-over-3-weeks-should-consult-a-doctor-1

ข้อมูลจาก น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์  อธิบดีกรมสุขภาพจิต ระบุว่า…

การพบภาวะสูญเสีย ความโศกเศร้าถือเป็นกิริยาที่ตอบสนองปกติ แต่ความโศกเศร้าไม่ควรอยู่เกิน 2- 3 สัปดาห์ หากนานกว่านี้ก็ ควรได้รับการดูแลรักษา ส่วนในการสังเกตอาการคนรอบข้าง หากมีการส่วนการสังเกตอาการของคนรอบข้าง เช่น  ร้องไห้ไม่หยุด  แยกตัวอยู่คนเดียว พูดคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง เอะอะ โวยวาย ซึมเศร้า เหม่อลอย ถ้าเห็นลักษณะนี้ต้องรีบเข้าไปพูดคุยหากไม่ดีก็ต้องพาไปพบแพทย์

ด้าน นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกต์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ช่วงเวลาครบรอบ 1 ปีแห่งการสวรรคตและในวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ประชาชนทั้งประเทศจะมีความโศกเศร้าในเรื่องเดียวกัน เป็นการสูญเสียบุคคลสำคัญอันเป็นที่รักยิ่ง และประชาชนมีความผูกพันอย่างมาก

โดยเฉพาะบุคคลที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปและผู้สูงอายุ เพราะเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความผูกพันกับพระองค์ท่านมาก นับเป็นวันสูญเสีย ซึ่งเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 วันที่พระองค์สวรรคต แต่ประชาชนยังสามารถเข้าถวายบังคับพระบรมศพได้ แต่ในวันที่ 26 ตุลาคม 2560 เป็นวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ที่พระองค์จะสถิตอยู่ในดวงใจตราบนิจนิรันดร์

depressed-mood-over-3-weeks-should-consult-a-doctor-2

สำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงด้านจิตใจ เช่น ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคจิต อาจมีอาการเป็นมากขึ้น เมื่อเจอสิ่งกระตุ้นเร้าที่เป็นเสียงเพลงเศร้าๆ หรือการกรีดร้องของผู้คน รวมทั้งอาจจะกระตุ้นมวลชนให้มีความรู้สึกโศกเศร้าร่วม ดังนั้น หากพบเจอประชาชนที่มีภาวะดังกล่าวให้แยกตัวบุคคลที่เป็นผู้เหนี่ยวนำออกจากกลุ่ม ให้อยู่ในพื้นที่โล่ง ให้สามารถหายใจได้เต็มที่ ก็จะทุเลาอาการได้ แต่หากไม่ดีขึ้นก็จะต้องส่งต่อให้ทีมแพทย์

ภาวะโศกเศร้าร่วมไม่อันตรายแต่จะเป็นการสร้างความรู้สึกร่วม เมื่อมีผู้คนไปมุงดู หากเป็นผู้ที่มีความหวั่นไหวทางอารมณ์ก็จะทยอยมีอารมณ์ร่วมไปเรื่อยๆ ขยายวงกว้าง ซึ่งตามปกติจะมีบุคคลหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นเหนี่ยวนำให้เกิดอารมณ์ร่วม ก็ต้องพยายามดึงตัวบุคคลนั้นออกจากกลุ่มคน

การจมอยู่ในความเศร้าย่อมไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพกายและใจ ฉะนั้น ควรเปลี่ยนความโศกเศร้าเป็นพลัง เช่น การเข้าร่วมในกิจกรรมจิตอาสา นอกจากจะช่วยลดความโศกเศร้าแล้วยังเป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วยค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *