5 สารอันตราย เจอได้… บนฉลากอาหาร!

0

เพราะเรื่องของ “อาหารการกิน” ถือเป็นพื้นฐานของการสร้างภูมิชีวิต ฉะนั้นถ้ากินไม่ถูกก็จะส่งผลให้เกิดการทำลายภูมิชีวิตเนื่องจากอาหารเหล่านั้นก่อให้เกิดการสะสมของท๊อกซินในร่างกายได้

มาดามได้ข้อมูลดีๆ จากชีวจิตที่แนะนำการเลือกกินอาหารจากฉลากให้ปลอดภัยและไม่มีสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้

5 Hazard found on the food labels

สารให้ความหวาน

Aspartame  สารให้ความหวานแทนน้ำตาลซึ่งใช้ในอาหารชนิดต่างๆ ไม่สามารถให้พลังงานและมีความหวานมากกว่าน้ำตาล 180 เท่ามักพบในขนมขบเคี้ยว หมากฝรั่งและเครื่องดื่มประเภทโซดา

จากรายงานของเอฟดีเอประเทศสหรัฐอเมริกาหากกินสารให้ความหวานมากเกินไปจะส่งผลต่อระบบประสาทเช่นทำให้มีอาการปวดหัวคลื่นไส้ความจำลดลงกรณีรุนแรงอาจทำให้ชักได้ทั้งยังเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง

สารปรุงแต่งกลิ่น

สารเคมีที่สังเคราะห์ขึ้นมาเรียนแบบกลิ่นและรสธรรมชาติซึ่งสามารถพบได้บ่อยในกระบวนการผลิตอาหาร เช่น ซีเรียล เครื่องดื่มและคุกกี้  ถึงแม้ว่า FDA จะอนุมัติให้ใส่สารปรุงแต่งกลิ่นในอาหารได้แต่เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเป็นสารเคมีชนิดใดเนื่องจากเป็นความลับขอทางบริษัทและไม่ปรากฎบนฉลากจึงเป็นเรื่องยากที่ผู้บริโภคจะสามารถประเมินผลจากการกินได้

น้ำเชื่อมฟรักโทส

หรือ High Fructose Corn Syrup HFCS  สารให้ความหวานจากการสังเคราะห์ข้าวโพดแม้มีให้เห็นอยู่บนฉลากโดยยังไม่มีคำเตือนใดๆ เช่นในไอศกรีมซีเรียลบางชนิดขนมปังบางประเภทโยเกิร์ตและ1ใน3ของเครื่องดื่มบางประ

งานวิจัยที่ตีพิมพ์โดยสมาคมต่อมไร้ท่อ ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า…

ผู้ใหญ่ที่บริโภคน้ำเชื่อมข้าวโพดฟรักโทสในปริมาณสูงเพียงแค่2สัปดาห์จะทำให้ระดับไขมันเลว  LDL  Cholesterol เพิ่มขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

ไขมันทรานส์ 

หรือว่า Trans Fat  ไขมันแปรรูปที่เกิดจากก๊าซไฮโดรเจนลงในไขมันไม่อิ่มตัว เช่น การแปรสภาพน้ำมันพืชเป็นเนยเทียม เพื่อให้ไขมันนั้นแข็งตัวมีจุดหลอมเหลวสูงขึ้นไม่เป็นไขมีอายุการเก็บรักษานานขึ้นและมีรสชาติ พบมากในอาหารจำพวกเบเกอรี่ เค้ก ครีมเทียมและอาหารแช่แข็ง

โดยในหลายงานวิจัยพบว่า ไขมันทรานส์จะทำให้ระดับของไขมันเลวเพิ่มสูงขึ้นนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจมากกว่าไขมันอิ่มตัว

สารกันบูด

หรือที่เห็นย่อๆ ว่า BHT and BHA สารเจือปนอาหารใช้ป้องกันการหืนของไขมันและน้ำมันจากปฎิกิริยาออกซิเดซิเดชั่น (Lipid Oxidation) เพื่อเสริมให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น พบในน้ำมันพืชไขมันสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์ขนมอบ น้ำมันหอมระเหย เป็นต้น

จากการศึกษาพบว่าสารกันบูดก่อให้เกิดมะเร็งในหนูทดลองโดยที่กระทรวงสาธรณะสุข ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดสารกันบูดประเภทนี้อยู่ในกลุ่มที่คาดว่าจะเป็นสารก่อมะเร็ง

ครั้งต่อไปหากจะซื้ออาหารก็ควรฉลาดซื้อ ฉลาดกิน ด้วยการอ่านฉลากก่อนนะคะ

 

 

ที่มา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *