“ไข้แมวข่วน” โรคสุ่มเสี่ยงของเหล่าทาสแมว!!

0

“ไข้แมวข่วน”

Cat scratch fever หรือ “โรคแมวข่วน” (Cat scratch disease-CSD) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดกึ่งเฉียบพลันมีชื่อว่า บาร์โทเนลล่า เฮนเซลเล่ (Bartonellahenselae) ซึ่งอาศัยอยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดงของแมว มีรูปร่างเป็นแท่งสั้น โค้งงอเล็กน้อย โดยเชื้อจะอาศัยอยู่ในต่อมน้ำลายของแมวแต่ไม่ก่ออาการในแมว ซึ่งเชื้อจะมีอยู่ในน้ำลายติดอยู่ที่ขนและติดที่เล็บของแมว

คนสามารถติด “โรคแมวข่วน” นี้ได้ จากการถูกแมวที่มีเชื้อกัด ข่วน หรือเลียบาดแผล เนื่องจากเมื่อแมวตัวที่มีเชื้อในกระแสเลือด แล้วแมวเกา กัด หรือข่วนตัวเองจนมีเลือดออก เชื้อในกระแสเลือดก็จะติดอยู่ตามซอกเล็บ เขี้ยวและฟันของแมว เมื่อแมวเลีย กัด หรือข่วนเจ้าของจนเกิดแผล เชื้อก็สามารถเข้าสู่บาดแผลได้

cat-scratch-fever

อาการที่เด่นชัดของ “โรคแมวข่วน” คือ…

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบโดยอักเสบประมาณ 2-6 เดือนแล้วค่อยๆยุบหายไปเอง แต่บางรายการอักเสบอาจอยู่ได้นานเป็นปีทั้งนี้ตรงบริเวณแมวข่วน/กัดอาจพบเป็นรอยแผลแดง ขนาดเล็ก ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำ และกลายเป็นแผลแห้งที่ตกสะเก็ด อาจพบรอยแผลเดียว หรือ 2-3 รอยส่วนการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองมักพบเป็นต่อมฯที่อยู่ใกล้กับรอยแมวกัด/ข่วน มีขนาดตั้งแต่ 1-10 ซ.ม. มีลักษณะนุ่ม เจ็บ มีสีออกแดง และอาจเป็นหนองได้ แต่มักไม่เกิดเป็นแผลแตกนอกจากนี้อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย อาทิ มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ขึ้นผื่น

แม้ผู้ป่วย “โรคแมวข่วน” ส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง แต่ในรายที่มีร่างกายอ่อนแอหรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง จะมีความเสี่ยงสูงมากต่อการติดเชื้อโรคนี้ แล้วทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด มีไข้ เกิดการติดเชื้อที่ตา ระบบประสาท หรือมีตุ่มนูนที่ผิวหนัง อาจรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อแทรกซ้อนที่หัวใจตับ กระดูก หลอดเลือดได้

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยาที่ใช้ป้องกัน “โรคแมวข่วน” แต่เราสามารถป้องกันโรคได้โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสแมวจรจัด หลีกเลี่ยงการเล่นแมวอย่างรุนแรงเพราะอาจทำให้ถูกแมวข่วนหรือกัดได้ หากถูกกัดหรือข่วนควรล้างแผลและฟอกสบู่ให้สะอาดทันที อย่าให้แมวเลียแผล และควรควบคุมหมัดในแมว รวมถึงระวังไม่ให้แมวเลี้ยงสัมผัสกับแมวจรจัด เพื่อลดโอกาสติดเชื้อในแมว

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *