“จอประสาทตาเสื่อม” 3 กลุ่มคนเสี่ยง ละเลยระวังตาบอด!!

0

“โรคจอประสาทตาเสื่อม” เป็นโรคที่มีความผิดปรกติเกิดขึ้นในจุดกลางรับภาพของจอประสาทตาถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรอย่างไรก็ตาม โรคจอประสาทตาเสื่อม จะทำให้สูญเสียการมองเห็นเฉพาะภาพตรงกลาง โดยที่ภาพด้านข้างของการมองเห็นยังดีอยู่ ดังนั้น โดยตัวของโรคจอประสาทตาเสื่อม จะไม่ทำให้การมองเห็นมืดสนิทไปทั้งหมด

โรคทางจอประสาทตาเสื่อม

หรือ “โรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมจากอายุ” (Age-related Macular Degeneration) พบมากใน 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรกผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางตา ซึ่งขณะนี้คนไทยป่วยเป็นโรคเบาหวานประมาณ 5 ล้านคน และหากป่วยนานเกิน 20 ปี มีโอกาสมีภาวะเบาหวานขึ้นตาถึงร้อยละ 20  กลุ่มที่สองมักจะเป็นกับเด็กคลอดก่อนกำหนดที่มีปีละประมาณ 8 หมื่นคน  และกลุ่มสุดท้ายคือ ผู้สูงอายุที่จอประสาทตาเสื่อมตามวัย ซึ่งจะเป็นกลุ่มใหญ่เมื่อเราก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว

age-related-macular-degeneration

โรคจอประสาทตาเสื่อม มีลักษณะโรค 2 รูปแบบ

  1. แบบแห้ง (Dry AMD) เป็นรูปแบบที่พบมากที่สุด เกิดจากการเสื่อมสลายและบางลงของบริเวณศูนย์กลางรับภาพของจอประสาทตา (Macula) จะทำให้การมองเห็นค่อย ๆ ลดลง และเป็นไปอย่างช้า ๆ
  2. แบบเปียก (Wet AMD) พบประมาณร้อยละ10-15 แต่มีการสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็ว และเป็นสาเหตุสำคัญของการตาบอดในโรคจอประสาทตาเสื่อม เกิดจากการที่มีเส้นเลือดผิดปกติงอกขึ้นมา หากเส้นเลือดที่เปราะบางเกิดการรั่วซึม จะทำให้จุดรับภาพบวม ภาพเริ่มพร่ามัว และตาบอดในที่สุด

อาการแรกเริ่มของผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อมคือ มองเห็นภาพบิดเบี้ยว ตาพร่ามัว เช่น มองดูตารางหมากรุกหรือกระเบื้องในห้องน้ำมันเบี้ยวไป ไม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส บางทีเห็นจุดบางจุดหายไป หรือไม่ก็เบลอไปเลย หากมีอาการเช่นนี้ให้รีบมาพบแพทย์ เพราะถ้ามาเร็วโอกาสที่จะหายและมองเห็นได้เหมือนเดิมก็จะมีสูงใน

ส่วนของการป้องกันนั้น สามารถทำได้โดยการตรวจเช็คสุขภาพตาเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หรือมีประวัติบุคคลในครอบครัวมีภาวะจอประสาทตาเสื่อม, งดสูบบุหรี่ งานอาหารที่มีไขมันสูง และเลือกกินอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ผักใบเขียว, ผลไม้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *