5 โรคยอดฮิตของคนเมือง รู้มั้ย มีอะไรบ้าง?

0

ในสภาพสังคมปัจจุบัน การดำเนินชีวิตในแต่ละวันนั้นค่อนข้างเร่งรีบ ใช้ชีวิตแข่งขันกับเวลา รวมถึงเผชิญกับมลภาวะอยู่ทุกวี่วัน โดยเฉพาะกลุ่มคนเมืองในกรุงเทพฯ จึงทำให้กลุ่มคนเมืองนี้ มีโอกาสได้รับความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคต่างๆ ว่าแล้วเรามาอัพเดตข้อมูลกันดีกว่า ว่าโรคยอดฮิตของกลุ่มคนเมือง มีอะไรบ้าง

ข้อมูลจาก นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ สสส. ในฐานะคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 13 ระบุว่า พฤติกรรมสุขภาพที่น่าสนใจของคนกรุงเทพฯ จากข้อมูลหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประชากรกรุงเทพมหานคร ในปี 2560 พบว่า โรคที่น่าจับตาของคนกรุงเทพฯ จากการเข้ารักษาโดยใช้สิทธิบัตรทองย้อนหลัง 2 ปี ซึ่ง…

5 อันดับแรก “โรคเสี่ยงคนเมือง”

5-diseases-of-the-city-people-know-what

  1. “โรคความดันโลหิตสูง” คือ ภาวะมีความดันโลหิต วัดได้สูงตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตร –ปรอท ขึ้นไป โดยทั่วไปแล้วโรคนี้มักไม่มีอาการ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียน สับสน
  2. “ความผิดปกติทางเมตะบอลิก” คือ กลุ่มอาการที่เป็นความผิดปกติในกระบวนการใช้พลังงานของร่างกาย โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคนี้ ได้แก่ ภาวะอ้วน ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
  3. “โรคเบาหวาน” เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย เกิดจากการที่ในเลือดมีน้ำตาลสูงกว่าปกติ โดยอาการของโรค ได้แก่ หิวบ่อย กระหายน้ำ ปัสสาวะปริมาณมากและบ่อย เหนื่อย อ่อนเพลีย ผิวแห้ง ตาแห้ง
  4. “ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนเฉียบพลัน” เกิดจากอวัยวะในระบบทางเดินหายใจส่วนบนติดเชื้อโรคอย่างเฉียบพลัน โดยอาการของโรค ได้แก่ มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ คอหอยอักเสบ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
  5. “โรคข้อ” คือ ภาวะผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับข้อกระดูกต่างๆของร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ข้อบวม แดง ร้อน มีข้อยึดติด เคลื่อนไหวไม่ได้ ทั้งนี้โรคข้อเกิดได้กับทุกๆ ข้อของร่างกาย

และยังพบว่าคนกรุงเทพฯ ออกกำลังกายน้อยกว่าคนภาคอื่นๆ มีสัดส่วนคนสูบบุหรี่และดื่มสุราค่อนข้างสูง โดยคนที่สูบบุหรี่ ประมาณ 20% เคยได้รับการปรึกษาเรื่องลด ละเลิกบุหรี่

นอกจากนี้ จากผลสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 ระหว่างปี 2557 – 2558 พบว่า ผู้ชายใน กทม. มีภาวะอ้วนสูงสุด ขณะที่ผู้หญิงมีสัดส่วนไม่ต่างกับผู้หญิงในภูมิภาคอื่นๆ คน กทม. บริโภคผักและผลไม้อย่างเพียงพอต่อวันเพียง 22% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยที่สุดรองจากภาคเหนือ 13% ส่วนความชุกของโรคความดันโลหิตสูงอยู่ที่ 23% และ โรคเบาหวาน อยู่ที่ 8%

ดังนั้น จึงควรลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ ทั้งการบริโภคผักผลไม้ที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ออกกำลังกายน้อย เพื่อป้องกันการเกิดโรคยอดนิยมเหล่านี้ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *