3 เซเลบศิลปินรุ่นใหม่ ปั้นงานศิลปะ สะท้อนปัญหาสุขภาพสังคมไทย

0

โรงพยาบาลพญาไท 2 จัดงานนิทรรศการศิลปะ “ดิ อาร์ท ออฟ ไลฟ์ รีทริวัล”  (The Art of Life Retrieval) นำ 3 ศิลปินรุ่นใหม่ คิด เบญจรงคกุล นุ่น ศิรพันธ์ และ บิ๊ง ภาพฟ้า แสดงผลงานศิลปะ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก งานวิจัยนวัตกรรมทางการแพทย์ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ของประชาชนในสังคม และเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วย

%e0%b8%a8%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b9%8c-%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%92%e0%b8%99%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b8%b2-%e0%b8%84%e0%b8%93%e0%b8%8a%e0%b8%b1%e0%b8%a2

นายแพทย์ ทวนทศพร สุวรรณจูฑะ ผู้อำนวยการฝ่ายศูนย์วิจัยและพัฒนาวิชาการ โรงพยาบาล พญาไท 2 กล่าวว่า

“ส่วนใหญ่คนมักจะจะนึกถึงสุขภาพก็ต่อเมื่อตนเองป่วย เมื่อป่วยก็ต้องการเข้าถึง การรักษา ที่ดีที่สุด ซึ่งนอกเหนือไปจากแพทย์และสถานพยาบาลที่ดีที่สุดแล้ว งานวิจัยนวัตกรรมการแพทย์ก็มีคุณค่าต่อชีวิตของผู้ป่วยและการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแล รวมไปถึงงบประมาณ ในการรักษาไม่แพ้กัน”

โดยโรงพยาบาลพญาไท 2 ได้นำเสนอ 5 ผลงานวิจัยนวัตกรรมการแพทย์ ได้แก่ “การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต พิชิตโรคอ้วน” “การเตรียมลำไส้ เพื่อการส่องกล้อง” “การทำกายภาพบำบัด เพื่อผู้ป่วยผ่าตัด ข้อเข่า” “การใช้ยาสูตรผสมใหม่ เพื่อขยายม่านตา เพื่อลดอาการข้างเคียงของยา” และ “การลดปริมาณรังสี ตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง ลดความเสี่ยงผู้ป่วยจากรังสี”

%e0%b8%99%e0%b8%9e-%e0%b8%97%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%a8%e0%b8%9e%e0%b8%a3-%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b8%88%e0%b8%b9%e0%b8%91%e0%b8%b0-1

จากแรงบันดาลใจเรื่องการพิชิตโรคอ้วน ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต “คิด-คณชัย เบญจรงคกุล” สะท้อนมุมมอง และแนวคิดงานศิลปะออกมาเป็นภาพถ่ายแนวแฟชั่นในชื่อ “Gluttony” (กลัตทอนี่) โดยกล่าวว่า

%e0%b8%84%e0%b8%b4%e0%b8%94-%e0%b8%84%e0%b8%93%e0%b8%8a%e0%b8%b1%e0%b8%a2-%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%8d%e0%b8%88%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%81%e0%b8%b8%e0%b8%a5

“แรงบันดาลใจของผมมาจากคนสมัยนี้ มักจะสนใจแต่เรื่องหน้าตาผิวพรรณ แต่ไม่สนใจ สุขภาพในองค์รวม กินอาหารตามใจปาก ทั้งที่เรื่องอาหารการกินส่งผลต่อทั้งหุ่น ทั้งสุขภาพภายใน ภาพถ่ายนี้เป็นภาพของผู้หญิงสวยคนหนึ่งกำลังนอนอยู่ท่ามกลางอาหารฟาสต์ฟู้ดกองโต เธอกินอาหาร เหล่านั้นจนหน้าท้องเป็นชั้นไขมันและยังคงกินต่อไป ผมอยากให้ผู้ชมหยุดคิดถึงสิ่งที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ได้หมายความว่าเรากินอาหารฟาสต์ฟู้ดไม่ได้นะครับ แต่เราควรจะรู้ว่าถ้าเราตามใจปากมากเกินไป อาหารเหล่านี้จะส่งผลต่อสุขภาพอย่างมาก ทั้งโรคอ้วน และโรคอื่นๆ ที่ตามมาพร้อมๆกัน

นุ่น ศิรพันธ์ วัฒนจินดา นักแสดงหัวใจอาร์ท สร้างสรรค์งานศิลปะชิ้นพิเศษ “ส่อง” จากงาน วิจัยเรื่อง “การเตรียมลำไส้เพื่อการส่องกล้อง” กล่าวว่า

%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%99-%e0%b8%a8%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b9%8c-%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%92%e0%b8%99%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b8%b2

“นุ่นตั้งใจสร้างผลงานชิ้นนี้เป็น Installation Art ให้ผู้ชมได้เข้ามาร่วมหาความหมายของงานชิ้นนี้ไปด้วยกัน โดยคอนเซปต์ของงานคือ Clear and Clean สื่อถึงลำไส้ใหญ่ที่สะอาดจากการได้รับการเตรียมการที่ดีก่อนการส่องกล้อง นั่นหมายถึงว่า เราจะได้รับ ผลการตรวจวินิจฉัยมีประสิทธิผลที่ดีมากยิ่งขึ้น ทำให้แพทย์สามารถวางแผนการดูแล สุขภาพและ การรักษาร่วมกับเราได้อย่างดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกรณีโรคมะเร็งลำไส้ที่พบบ่อย เป็นอันดับต้นๆในคนไทย  

“บิ๊ง-ภาพฟ้า พุทธรักษา” นำงานสร้างสรรค์ด้วยภาพวาดสไตล์ภาพประกอบสุดเท่ Happy Knees” (แฮปปี้ นีส์) กับเรื่อง กายภาพบำบัดผู้ป่วยผ่าตัดข้อเข่าถ่ายทอดแรงบันดาลใจว่า

%e0%b8%9a%e0%b8%b4%e0%b9%8a%e0%b8%87-%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%9f%e0%b9%89%e0%b8%b2-%e0%b8%9e%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%b2

“ผลงานชิ้นนี้บิ๊งใช้เทคนิค ภาพวาด เกิดจากที่บิ๊งลองจินตนาการแทน ความรู้สึกตัวเองเป็นผู้ป่วยที่เพิ่ง ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า และเข้ารับการทำกายภาพบำบัด รูปแบบที่ถูกพัฒนาขึ้นจากงานวิจัยนี้ ทำให้เรารู้สึกเป็นธรรมชาติและสบายใจขึ้น ภาพนี้จะให้ความรู้สึกอบอุ่นมาจากความรู้สึกอุ่นใจของผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่มี บรรยากาศอบอุ่นปลอดภัยเหมือนอยู่ที่บ้าน”

นอกจากนี้ในงาน ยังมีการจัดแสดงผลงานวิจัยอื่นๆ โดยความร่วมมือจากนิสิต คณะศิลปะกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  โดย กลุ่มแรกผลงานชื่อ ‘Survey’ จากงานวิจัย “การเตรียมลำไส้ เพื่อการส่องกล้อง” ซึ่งใช้การนำเสนอในรูปสัญลักษณ์ เป็นเรื่องราวของเส้นทางระหว่างถนนคอนกรีตที่ เดินทางได้สะดวกสบายไหลลื่นที่เปรียบเสมือนลำไส้ ที่มีการเตรียมความพร้อมสำหรับส่องกล้องอย่างดี มาก่อนทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว กับถนนลูกรังที่มีแต่อุปสรรค เดินทางติดขัด ไม่สะดวกสบาย เปรียบเสมือน ปัญหาของการเตรียมลำไส้ ที่ไม่สะอาดพอในการเข้าตรวจ ทำให้ต้องมี การเลื่อนการส่องกล้องออกไป ซึ่งทำให้สูญเสียทั้งเวลา ค่าใช้จ่าย และอาจสร้างความไม่พึงพอใจ กับผู้รับบริการ

%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99-survey

ขณะที่กลุ่มที่สอง กับผลงาน ‘Decrease, Increase’ ที่สร้างสรรค์งานศิลปะจากงานวิจัย “การใช้ยาสูตร ผสมใหม่ เพื่อขยายม่านตา ลดอาการข้างเคียงของยา” โดยนำเสนอด้วยทคนิคสื่อผสม งานเย็บปัก และภาพเขียน เปรียบเทียบแนวทางการหยอดตาเพื่อขยายม่านตา 2 รูปแบบ โดยรูปแบบแรก เป็นการใช้ยาสูตรผสมเดิมที่มีผลข้างเคียงที่ส่งผลต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงใจสั่น และหัวใจเต้นเร็วรูปแบบที่สองใช้ยาสูตรผสมใหม่ ที่ช่วยลดผลข้างเคียง ต่างๆที่เกิดขึ้น และลดระยะเวลารอคอยการตรวจ”

%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%a1%e0%b8%a8%e0%b8%a7%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99de

และท้ายสุด “INSIDE” แรงบันดาลใจจากงานวิจัยหัวข้อ “การลดปริมาณรังสีตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ ช่องท้อง ลดความเสี่ยงผู้ป่วยจากรังสี” ภาพนี้ใช้เทคนิคการลดความเข้มข้นของสี เป็นการลดปริมาณ การเกิดฟองอากาศ และงานที่ได้ยังคงมีประสิทธิภาพในด้านความงามที่มากกว่า ซึ่งสอดคล้องกับผลวิจัย ในการพัฒนารูปแบบการลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ ซึ่งการได้รับรังสีมากจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง แต่การพัฒนาครั้งนี้ สามารถลดปริมาณรังสีและประสิทธิภาพในการอ่านค่ายังเท่าเดิม ซึ่งผลโดยรวมต่อ ผู้ป่วยดีกว่าเดิม เช่นเดียวกับการลดความเข้มข้นของสี

%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b6%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%95-%e0%b8%a1%e0%b8%a8%e0%b8%a7-%e0%b9%80%e0%b8%88

“จะเห็นได้ว่า งานวิจัยนวัตกรรมทั้งหมด มุ่งไปที่การช่วยลดปัญหาสุขภาพของสังคม ลดผลกระทบจากยา และรังสี รวมไปถึงทำให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันการสื่อสาร งานวิชาการด้วยงานศิลปะ จะทำให้เข้าถึงกลุ่มคนทั่วไปได้กว้างขวางขึ้น  และช่วยทำให้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ สิ่งที่เราให้ความสำคัญมากกว่าเรื่องการรักษาโรค คือ การทำให้คนไทยมีสุขภาพดี และแข็งแรง” ผอ.ฝ่ายศูนย์วิจัยสรุป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *