9 วิธีว่าที่คุณแม่ควรทำเมื่อต้องอุ้มท้องขึ้นเครื่อง

0

ช่วงนี้หลายครอบครัวคงวางแผนการเดินทางช่วงเทศกาลทีใกล้เข้ามาไม่ว่าเป็นคริสมาสต์หรือปีใหม่  คุณแม่ท้องก็คงอยากจะเที่ยวเหมือนกัน  หรือางคนอาจจะวางแผนได้กับไปใช้เวลาร่วมกับครอบครัว  แต่อาจจะกังวลในเรื่องของการเดินทางโดยเฉพาะการขึ้นเครื่องบิน  หากจำเป็นต้องเดินทางจริงๆ และได้รับคำรับรองจากคุณหมอแล้ว  คุณแม่ก็ต้องไม่ลืมวิธีดูแลตัวเองให้ปลอดภัยในระหว่างเดินทางด้วยนะคะ

Pregnant travel concept

Pregnant travel concept

  • การนั่งโดยสารเครื่องบินเวลาขึ้นหรือลง ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของสายการบินนั้นๆ อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการคาดเข็มขัดนิรภัยให้พอกระชับ ไม่แน่นอึดอัดจนมากไป
  • ในบางครั้งเครื่องบินอาจเกิดตกหลุมอากาศ หรือต้องเจอกับสภาพอากาศที่เลวร้าย ซึ่งที่นั่งที่ดีสำหรับคนท้องควรอยู่บริเวณกลางเครื่อง เพราะบริเวณที่นั่งช่วงกลางเครื่อง จะมีการส่าย หรือสั่นไม่มาก
  • ควรเลือกที่นั่งใกล้ห้องน้ำ
  • ระหว่างนั่งโดยสารอยู่บนเครื่อง คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรมีการลุกขยับตัว ขยับขา หรือเดินไปมา ทุกๆ 30-60 นาที เช่นไปเข้าห้องน้ำบ้าง ขยับขา และหมุนหรือยืดเท้าบ้าง เพื่อให้เส้นเลือดในร่างกายเกิดการไหลเวียน ป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันใหลอดเลือดดำ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ก็จะช่วยลดอาการลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำด้วยเช่นกัน
  • การใช้ถุงเท้าสำหรับสวมใส่ระหว่างเที่ยวบิน ที่เรียกว่า flight socks หรือ elastic compression stockings อาจช่วยลดภาวะลิ่มเลือดอุดตันใหลอดเลือดดำได้
  • ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกการเดินทางในเส้นทางสั้นๆ ที่ใช้เวลาบนเครื่องไม่นานจนเกินไปจะดีที่สุด
  • หลีกเลี่ยงอาหาร และเครื่องดื่ม ที่ทำให้เกิดแก๊สในท้อง มากๆ เพราะเวลาอยู่บนเครื่องที่มีความกดอากาศสูง อากาศจะขยายตัวทำให้อาการจุกแน่น หรืออืดแน่นท้องเป็นมากขึ้น
  • ถ้ามีอาการผิดปกติเหล่านี้ควรรีบแจ้งแอร์ สจว๊ต โดยด่วน เช่น อาการเลือดออกทางช่องคลอด มีชิ้นเนื้อหลุดจากช่องคลอด อาการปวดเกร็ง หรือปวดบีบท้อง อาการน้ำเดิน อาการขาบวมหรือปวดขา ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว หรือจุกแน่นลิ้นปี่

นอกจากสิ่งเหล่านี้  สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถือ ความสามารถในระบบให้บริการทางสาธารณะสุขในประเทศที่เราเดินทางไป ว่าถ้าเกิดปัญหาแทรกซ้อน สามารถให้การรักษาโดยบุคคลากรทางการแพทย์ และเครื่องไม้เครื่องมือที่เหมาะสมได้

และที่ขาดไม่ได้ควรนำสมุดบันทึกการฝากครรภ์ ที่มีผลการตรวจทั้งหมดติดไปด้วย เมื่อเกิดปัญหาแพทย์ที่ดูแลต่อจะได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์ และข้อมูลของเจ้าตัวเล็กในท้องทั้งหมดได้ เป็นประโยชน์อย่างมากในการให้การดูแลรักษากรณีมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *