กฎหมายน่ารู้.. สิทธิของ working mom

0

ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กำหนดให้คุณแม่ที่ต้องทำงานได้รับความคุ้มครอง  ดังนี้ ค่ะ

1.  ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 4 ทุ่ม ถึง 6 โมงเช้า

2.  ห้ามทำงานล่วงเวลา

3.  ห้ามทำงานในวันหยุด

4.  ห้ามทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

  • งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน
  • งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ
  • งานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม
  • งานที่ทำในเรือ หรืองานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

หากนายจ้างฝ่าฝืนมีโทษขั้นต่ำปรับไม่เกิน 5,000 บาท โทษสูงสุดจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

The rights of the working mom

นอกจากนี้กฎหมายก็มีข้อยกเว้นและกำหนดให้คุณแม่สามารถร้องขอตามความเหมาะสมสำหรับบางกรณี   ดังต่อไปนี้

  • ลูกจ้างที่ทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร งานวิชาการ งานธุรการ รวมทั้งงานเกี่ยวกับการเงินหรือบัญชี สามารถทำงานล่วงเวลาในวันทำงานได้ (ไม่ใช่ล่วงเวลาในช่วงวันหยุด) โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
  • ในกรณีที่ลูกจ้างซึ่งตั้งครรภ์ไปหาหมอแล้วมีใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งมาแสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมได้อีกต่อไป (เพราะอาจส่งผลต่อทารกและสุขภาพของเธอ) ลูกจ้างคนนั้นมีสิทธิขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานในหน้าที่เดิมชั่วคราวในช่วงก่อนหรือหลังคลอด แล้วให้นายจ้างพิจารณาเปลี่ยนงานที่เหมาะสม ถ้าหากลูกจ้างหญิงขอเปลี่ยนงานแล้วนายจ้างไม่ให้ (ทั้งๆ ที่มีใบรับรองแพทย์)แบบนี้นายจ้างมีโทษขั้นต่ำปรับไม่เกิน 5,000 บาท โทษสูงสุดจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • หากนายจ้างเกรงว่าหญิงมีครรภ์จะทำงานได้ไม่ดีเท่าเดิม หรือเมื่อเธอมาขอเปลี่ยนลักษณะงาน แล้วบอกให้ออกจากงาน เพราะต้นเหตุมาจาก นายจ้างมีโทษขั้นต่ำปรับไม่เกิน 5,000 บาท โทษสูงสุดจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • กฎหมายคุ้มครองลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ให้มีสิทธิลาคลอด (ในแต่ละครรภ์) ได้ไม่เกิน 3 เดือน โดยมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน นอกจากนี้ ในบางหน่วยงานก็จะให้สิทธิพิเศษ เพิ่มเติมในเรื่องการลาคลอดอีกตามแต่นโยบายขององค์กร

กฎหมายไทยให้ความสำคัญกับการสร้างครอบครัว ดูแลทรัพยากรของชาติและสุขอนามัยแม่และเด็ก ดังนั้น ถ้าคุณตั้งครรภ์ขณะยังทำงานอยู่กฎหมายก็ดูแลแรงงานหญิงที่ตั้งครรภ์นั้นสามารถทำงานได้ และยังให้ความคุ้มครองตลอดการทำงานไปจนถึงหลังคลอดเลยทีเดียวค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *