“หัดเยอรมัน” โรคอันตรายที่คุณแม่ท้องต้องระวัง

0

นับเป็นประเด็นที่เหล่าคนรักการท่องเที่ยวให้ความสนใจอย่างมาก กับข่าวการระบาดของโรคหัดเยอรมันในประเทศญี่ปุ่น โดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่า เมื่อโรคหัดเยอรมันระบาดอาจใช้เวลา 2-3 ปีกว่าจะคลี่คลาย ฉะนั้น เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจอย่างยิ่งหากมีแพลนจะเดินทางไปญี่ปุ่น โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงอย่างหญิงตั้งครรภ์

โรคหัดเยอรมัน

ชื่อภาษาอังกฤษ Rubella, German measles เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ติดต่อด้วยการไอ จามหรือใกล้ชิดกับคนติดเชื้อ ทำให้เกิดไข้และมีผื่น อาการสำคัญ คือ มีไข้ร่วมกับมีผื่นประมาณ 2-3 วัน โดยหัดเยอรมันถือเป็นโรคที่อันตรายมากกับหญิงตั้งครรภ์และเด็กในท้อง เนื่องจากอาจทำให้เด็กเกิดภาวะพิการแต่กำเนิด หูหนวก ตาเป็นต้อกระจก เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด มีภาวะผิดปกติทางสมอง และอวัยวะภายในได้รับความเสียหาย รวมถึงทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์แท้งได้

german-measles-in-pregnant

วิธีป้องกันตัวเองของนักเดินทางจากการระบาดของโรคหัดเยอรมัน

  1. ตรวจสอบตนเองว่าเคยได้รับวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันครบ 2 เข็มหลังจากอายุ 1 ขวบหรือไม่
  1. หากไม่มั่นใจว่าเคยได้รับวัคซีนครบหรือไม่ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและรับวัคซีนเพิ่มเติม ทั้งนี้ หญิงตั้งครรภ์ไม่สามารถรับวัคซีนได้เนื่องจากวัคซีนเป็นอันตรายกับเด็กในท้อง ส่วนหญิงวัยเจริญพันธุ์ควรฉีดวัคซีนและคุมกำเนิดหลังฉีดวัคซีนครบอย่างน้อย 1 เดือนจึงจะตั้งครรภ์ได้
  1. แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อหัดเยอรมัน (ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือไม่เคยเป็นโรคมาก่อน) หลีกเลี่ยงการเดินทางไปประเทศที่เสี่ยง หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ให้ใช้มาตรการระมัดระวังตัวเพิ่มขึ้น พยายามไม่เดินทางไปในพื้นที่ที่มีคนอยู่รวมกันเยอะๆ และอากาศไม่ถ่ายเท ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกจากที่พัก ล้างมือฟอกสบู่ทุกครั้งที่มีโอกาส รวมถึงพกแอลกอฮอล์สเปรย์หรือเจลไว้ล้างมือตลอดเวลาทุกครั้งที่ไม่สามารถล้างมือฟอกสบู่ได้ และไม่นำมือไปสัมผัสตา จมูก ใบหน้าโดยไม่จำเป็น
  1. เด็กอายุน้อยกว่า 9 เดือนให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่เสี่ยง เนื่องจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันในประเทศไทยเริ่มฉีดเมื่อเด็กอายุ 9 เดือนเป็นต้นไป

อย่ามัวแต่ห่วงเที่ยวจนละเลยการเช็คข่าวสารเกี่ยวกับโรคระบาดต่างๆ นะคะ คุณไม่ใช่ตัวคนเดียว แต่ยังมีชีวิตน้อยๆ ที่รอจะลืมตาดูโลกอย่างสมบูรณ์แข็งแรงอยู่อีกหนึ่งชีวิตด้วยค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *