แจ้งเกิด ทำอย่างไร?

0

“การเกิด” เป็นจุดเริ่มต้นของสภาพบุคคล และเป็นจุดเริ่มต้นที่กฎหมายเข้ามามีบทบาท เมื่อมีเด็กเกิดในครอบครัว ต้องมีการแจ้งการเกิด ฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ในการดูแลเรื่องการแจ้งเกิดลูกน้อยให้เป็นไปโดยราบรื่น ด้วยการเตรียมเอกสารและเดินทางไปแจ้งเกิดภายในระยะเวลาที่กำหนดค่ะ

%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%94

  1. กรณีเด็กที่เกิดในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล

ผู้ทำคลอดจะต้องออกหนังสือรับรองการเกิด (ท.ร1/1) ให้ไว้เป็นหลักฐาน เพื่อใช้ในการแจ้งเกิด โดยผู้ที่มีหน้าที่แจ้งการเกิดของเด็ก คือหัวหน้าของโรงพยาบาล/สถานพยาบาล หรือบิดามารดาของเด็ก โดยต้องไปแจ้งเกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เด็กเกิด กรณีที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เด็กเกิดนั้นตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ให้แจ้งเกิดที่งานทะเบียนในเขตเทศบาลนั้น ส่วนโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล ให้ไปแจ้งเกิดที่สำนักงานทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่นั้น

  1. กรณีเด็กเกิดในบ้าน

ผู้ที่มีหน้าที่แจ้งเกิดของเด็ก คือ เจ้าบ้านของบ้านที่เด็กเกิด หรือบิดามารดาของเด็ก ทั้งนี้ ต้องแจ้งเกิดภายใน15 วันนับแต่วันที่เด็กเกิด

  1. การเกิดกรณีเป็นเหตุสุดวิสัย เช่น บนรถโดยสาร บนรถแท็กซี่ หรือที่อื่น ๆ

ผู้ที่มีหน้าที่แจ้งการเกิดของเด็ก คือ บิดาหรือมารดาของเด็กหรือพนักงานฝ่ายปกครอง เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปลัดอำเภอ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และต้องแจ้งเกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เด็กเกิด

หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงในการแจ้งเกิด

  1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ไปแจ้งเกิด
  2. หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร1/1) ที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เด็กเกิดออกให้
  3. ทะเบียนบ้านฉบับจริงที่จะเพิ่มชื่อเด็กเข้าไปอยู่

ในการแจ้งเกิดของเด็ก จะต้องแจ้งชื่อเด็กไปในคราวเดียวกันด้วยเพื่อเจ้าหน้าที่จะได้จดบันทึกลงไปในใบสูติบัตรหรือใบเกิดนั้น และเด็กที่เกิดในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นบุตรของคนไทย หรือคนต่างด้าวสามารถจะไปแจ้งเกิดและมีสิทธิจะได้รับหลักฐานการเกิดด้วยเช่นกัน

สำหรับการรับแจ้งการเกิด และการออกใบสูติบัตรหรือใบเกิด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่ถ้าไม่ไปแจ้งเกิดภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่เด็กเกิด ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *