ทำอย่างไรให้เบบี๋ห่างไกล “ไข้เลือดออก”

0

หน้าฝน เป็นฤดูที่เหมาะสมต่อการเพาะพันธุ์ของยุงลาย จึงเป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างหนัก โดยความรุนแรงของโรคนี้นั้นอันตรายถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ที่น่ากลัวคือ เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี เป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากการเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุด

 

“โรคไข้เลือดออก” เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงลายดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฝังตัวภายในกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสไปกัดคนอื่น ๆ ต่อ เชื้อไวรัสก็จะเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนกัด ทำให้คนที่ถูกยุงกัดเป็นไข้เลือดออก และก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตามมา

 

35

 

สำหรับอาการที่บ่งชี้ว่าเบบี๋อาจเป็น “ไข้เลือดออก” ได้แก่

1. ไข้ลงหรือไข้ลดลงแต่อาการเลวลง ยังเบื่ออาหาร ไม่ค่อยเล่น อ่อนเพลีย
2. คลื่นไส้ อาเจียน ตลอดเวลา
3. ปวดท้องมาก
4. มีเลือดออกมาก เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียน ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ
5. พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากปกติ
6. กระหายน้ำตลอดเวลา
7. ร้องกวนมาก
8. ตัวเย็น สีผิวคล้ำลง หรือตัวลาย
9. ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะนานเกิน 4- 6 ชั่วโมง ถ้ามีอาการดังกล่าวแม้ว่าไข้เริ่มจะลดลงแล้วควรรีบพาไปพบแพทย์

 

36

 

รวมวิธีป้องกันเบบี๋ให้ห่างไกลจาก “โรคไข้เลือดออก”

  1. เก็บกวาดทำความสะอาดบ้านให้โล่ง ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพัก อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มีมุมอับทึบหรือชื้น
  2. เก็บขยะ เศษภาชนะต่าง ๆ ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
  3. ปิดฝาภาชนะให้มิดชิด เช่น โอ่ง ไห ขวด ถัง เป็นต้น ไม่ให้ยุงลายวางไข่
  4. เปลี่ยนน้ำในภาชนะที่ปิดไม่ได้ เช่น แจกัน ทุกสัปดาห์ รวมทั้งภาชนะและขวดประเภทต่าง ๆ ที่อยู่ภายในบ้าน
  5. หากไม่สามารถเทน้ำจากภาชนะบางอย่างได้ ให้ใส่น้ำส้มสายชู หรือเกลือลงไปผสมในน้ำ
  6. ปล่อยปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ในอ่างบัว
  7. ใส่ทรายในจานรองกระถางต้นไม้ใหญ่และหนัก โดยใส่ให้ลึกประมาณ 3 ใน 4 ของความลึกของจานนั้น เพื่อให้ทรายดูด8. ซึมน้ำส่วนเกินจากการรดน้ำต้นไม้ไว้ ส่วนต้นไม้เล็กอาจใช้วิธีเทน้ำที่ขังอยู่ในจานรองกระถางต้นไม้ทิ้งไปทุก สัปดาห์
  8. โรยทรายอะเบทลงไปในท่อน้ำทิ้งเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  9. ระวังอย่าให้ยุงกัดเบบี๋ โดยเฉพาะในเวลากลางวัน เนื่องจากยุงลายมักชอบออกหากินในเวลากลางวัน
  10. ป้องกันไม่ให้ยุงกัดเบบี๋ เช่น ติดตั้งมุ้งลวดกันยุง ให้เบบี๋นอนในมุ้ง นอนเปลที่มีมุ้งผ้า ใช้รถเข็นที่มีตาข่ายกันยุง ให้สวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด และทายากันยุงสูตรสำหรับทารกให้

 

ทั้งนี้ เมื่อเบบี๋ป่วยเป็นไข้ หรือมีอาการบ่งชี้ว่าอาจด้วยด้วยโรคไข้เลือดออก พ่อแม่ผู้ปกครองควรติดตามอาการ รวมถึงพาไปพบแพทย์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *