“ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด” ลูกคุณเข้าข่ายมั้ย?

0

“ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด”

เป็นโรคทางระบบต่อมไร้ท่อที่พบได้บ่อยในเด็ก เป็นสาเหตุของภาวะปัญญาอ่อนที่สามารถป้องกันได้ มักจะยังไม่แสดงอาการเมื่อแรกเกิด แต่จะชัดเจนเมื่อทารกอายุมากขึ้น ว่าแล้วมาทำความรู้จักและสังเกตอาการของโรคนี้เพื่อรักษาแต่เนิ่น ๆ กันค่ะ

ไทรอยด์ฮอร์โมน” เป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะในเด็กแรกเกิด หากมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนย่อมส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของระบบประสาท การทำงานระบบต่าง ๆ และพัฒนาการทางร่างกาย อาการของโรคจะปรากฏเมื่อแรกเกิด และมักเด่นชัดขึ้นเมื่ออายุมากกว่า 3 เดือน โดยช่วง 3 ขวบแรกเป็นช่วงสำคัญของการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมอง หากทารกมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในระยะวิกฤตนี้จะมีผลให้เกิดความพิการทางสมองและภาวะปัญญาอ่อนตามมา

อาการของภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด จะแตกต่างกันตามช่วงวัย

Happy toddler girl her in house

  1. ทารกแรกเกิด-2 สัปดาห์

กระหม่อมมีขนาดใหญ่โดยเฉพาะกระหม่อมหลัง (มากกว่า 1 เซนติเมตร), อุณหภูมิร่างกายต่ำ คือน้อยหว่า 35 องศาเซลเซียส นอนหลับมาก ดูดนมไม่ดี สำลักนมบ่อย รวมถึงมีภาวะเหลืองนานในทารกวัยแรกเกิด

  1. ทารกอายุ 1-3 เดือน

มีภาวะเหลืองนานในทารกวัยแรกเกิด, ท้องผูก ดูดนมไม่ดี น้ำหนักขึ้นน้อย นอนหลับมาก, ลิ้นโตคับปาก ท้องป่อง สะดือจุ่น, ผิวลาย ผิวแห้งและเย็น, ไม่ค่อยขยับและซึม

  1. ทารกอายุ 3-6 เดือน

เจริญเติบโตและพัฒนาการล่าช้า, เสียงแหบ ลิ้นโตคับปาก, ท้องผูก ท้องป่อง สะดือจุ่น, ผิวแห้ง หยาบ, ตัวบวมทั้งตัว

  1. ทารกอายุ 6 เดือน-3 ปี

เจริญเติบโตช้า ตัวเตี้ย ขาสั้น ท้องป่อง สะดือจุ่น, ฟันขึ้นช้า ลิ้นโตคับปาก เสียงแหบ, หน้าบวม ตาบวม หรือบวมทั้งตัว, ผิวแห้ง หยาบ, มีอาการตัวเหลือง


 

เพื่อเป็นการป้องกันทารกแรกเกิดทุกคนจึงควรเข้ารับโปรแกรมการคัดกรองโรคพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดทันทีภายหลังมีอายุครบ 48-72 ชั่วโมง หรือหากสงสัยว่าเบบี๋มีอาการควรรีบพาไปพบแพทย์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *