ว่าด้วยการพาเบบี๋ไปหาคุณหมอในช่วงโควิดระบาด

0

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยยังคงน่าเป็นห่วง เด็กทารก ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง แต่เพราะเบบี๋เป็นวัยที่พ่อแม่ต้องพาไปพบแพทย์บ่อยครั้งด้วยหลายเหตุผล อาทิ เช็คสุขภาพ ฉีดวัคซีนต่าง ๆ ทำให้เกิดความกังวลว่าอาจเสี่ยงติดโควิดได้ คำถามคือเมื่อไหร่ที่ควรพาเบบี๋ไปพบแพทย์?

การรับบริการวัคซีนตามนัด

1. ควรติดตามข่าวสารการปรับเปลี่ยนการทำงานของคลินิกเด็กสุขภาพดีในโรงพยาบาลที่รับบริการอยู่

2. โทรศัพท์ประสานเจ้าหน้าที่เพื่อรายงานข้อมูลสุขภาพของเด็กโดยรวม ในกรณีที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคอย่างมาก อาจเลื่อนการฉีดวัคซีนบางชนิดออกไปก่อน ทั้งนี้ ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ หากเป็นวัคซีนที่จำเป็นต้องฉีด

3. ควรนัดหมายเวลาล่วงหน้าเพื่อลดระยะเวลาการอยู่ในโรงพยาบาล และลดความแออัดจากผู้ดูแลที่พาเด็กมารับบริการฉีดวัคซีน

อาการสำคัญที่ต้องพาเด็กไปพบแพทย์

ช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ควรพยายามลดจำนวนครั้งในการไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล สำหรับเบบี๋ที่มีโรคเรื้อรังควรโทรศัพท์ประสานกับสถานพยาบาลหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาให้ประเมินสภาพอาการก่อนเพื่อขอเลื่อนนัด ห้ามตัดสินใจเองโดยเด็ดขาด หากเด็กน้อยมีอาการไข้ หรือไอ เหนื่อยหอบ กินไม่ได้ ให้นึกไว้ก่อนว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดจากเชื้อ COVID-19 ให้ลองพิจารณาว่าเด็กเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงหรือไม่ดังนี้

1. เคยสัมผัส พูดคุยใกล้ชิดกับผู้มีอาการเข้าข่ายติดเชื้อหรือเป็นผู้ป่วยติดเชื้อภายใน 14 วันที่ผ่านมา

2. อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีรายงานผู้เข้าข่ายติดเชื้อหรือผู้ป่วยติดเชื้อหรือเคยไปสถานที่สาธารณะโดยไม่ได้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน

3. สมาชิกในครอบครัวมีอาการเข้าข่ายติดเชื้อ หากมีอาการน่าสงสัยร่วมกับประวัติการสัมผัสเสี่ยง ก็ควรพาเด็กไปโรงพยาบาล

ทุกครั้งที่พาเบบี๋ไปพบคุณหมอ อย่าลืมเครียมสมุดบันทึกสุขภาพ พกติดไปด้วยทุกครั้ง เพื่อให้คุณหมอสามารถจดบันทึกข้อมูลเรื่องสุขภาพต่าง ๆ เอาไว้อย่างต่อเนื่อง เช่น ชื่อยา หมายเลขตัวยา วันที่ใช้ยา หรือชื่อวัคซีนที่ได้รับ รวมถึงการประมวลผล ให้คำแนะนําเกี่ยวกับสุขภาพลูกน้อย ให้พ่อแม่รับรู้ถึงการเจริญเติบโต และการดูแลลูกอย่างเหมาะสมตามวัย

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นี้ การใช้เวลาตามลำพังกับลูก จะทำให้ลูกรู้สึกว่ามีคนรักและห่วงใยรู้สึกปลอดภัยและทำให้รู้สึกว่าเขาเป็นคนสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่สามารถทำได้กับเบบี๋วัยทารกหรือวัยหัดเดิน เช่น ทำสีหน้าและออกเสียงเลียนแบบลูก, ร้องเพลง เคาะช้อนและกระป๋อง, เล่นของเล่นแบบต่อแท่งไม้หรือถ้วยพลาสติก, เล่านิทาน อ่านหนังสือ หรือดูรูปด้วยกัน นอกจากนี้ พ่อแม่เองก็อย่าลืมจดบันทึกอาการต่าง ๆ อย่างละเอียดในระหว่างที่ลูกเกิดการเจ็บป่วย ไม่สบาย ไม่ว่าเรื่องอาหารการกิน การนอน ความเป็นอยู่ต่าง ๆ เพื่อง่ายต่อการวินิจฉัยของคุณหมอ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *