เตรียมตัว ก่อน-หลัง บริจาคโลหิต ยังไงไม่ให้พลาด!!

0

สถานการณ์ไข้เลือดออกในบ้านเราช่วงนี้บอกได้เลยว่ายังไม่น่าไว้ใจ โดยในปี 2558 นี้มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมมากกว่าหนึ่งแสนรายซึ่งในผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกส่วนหนึ่ง มีอาการรุนแรงเกิดภาวะช็อก เกล็ดเลือดต่ำและเลือดออกไม่หยุดได้ จำเป็นต้องได้รับโลหิต และเกล็ดเลือดอย่างต่อเนื่อง

หลายคนตั้งใจบริจาคโลหิต เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือคนที่คุณรักรวมถึงเพื่อนมนุษย์ แต่เพราะไม่เคยทำมาก่อนอาจเตรียมตัวพลาด จนทำให้ความตั้งใจบริจาคโลหิตเป็นไปอย่างสูญเปล่าเพราะความไม่พร้อม ว่าแล้วเรามาเตรียมตัวให้เป๊ะก่อนบริจาคโลหิตกันเถอะ

prepare-yourself-before-and-after-blood-donation

การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต

  1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ในเวลานอนปกติของตนเอง
  2. สุขภาพผู้บริจาคโลหิตต้องสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาแก้อักเสบใดๆ
  3. รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ของทอด ของหวาน
  4. ดื่ม 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต
  5. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก่อนมาบริจาคโลหิตอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  6. งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

ในขณะบริจาคโลหิตควรปฏิบัติตามที่เจ้าหน้าที่บอกอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ควรทำตัวตามสบาย อย่ากลัว หรือวิตกกังวลไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่งหรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิตขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก หากมีอาการผิดปกติให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที

หลังบริจาคโลหิต

  1. ไม่ควรรีบร้อนกลับ ควรนั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ หากรู้สึกผิดปกติให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
  2. ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีบริการให้ ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1 วัน
  3. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และรับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ด จนหมด
  4. หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนักๆ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต เพื่อป้องกันการบวมช้ำ
  5. ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อสให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิตเพื่อพบแพทย์
  6. ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *