อาการอ่อนเพลียหรือพละกำลังลดลง มักพบได้บ่อยในคนที่มีอายุมากขึ้น โดยผู้หญิงมักมีปัญหาอ่อนเพลียเหนื่อยล้าได้มากกว่าผู้ชายปัจจัยที่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียเหนื่อยล้าง่ายมีได้มากมายหลายสาเหตุ เช่น ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดผิดปกติ โรคโลหิตจาง ค่าการทำงานของตับหรือไตผิดปกติ แต่ที่คุณอาจนึกไม่ถึงคืออาการอ่อนเพลียเหนื่อยล้าที่เป็นผลจากฮอร์โมนในร่างกายบกพร่อง!!
ฮอร์โมนในร่างกายหลากหลายชนิดที่ส่งผลต่อพละกำลังและทำให้เกิดการอ่อนเพลียเหนื่อยล้าง่าย ได้แก่…

1. ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์
ฮอร์โมนนี้มีส่วนสำคัญเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจและสมองช่วยควบคุม ระบบ Metabolismหรือการเผาผลาญในร่างกาย ถ้าหากรางกายมีการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ลดลงไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม จะส่งผลให้เกิดภาวะที่เรียกว่า Hypothyroidismภาวะดังกล่าวมักจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย พละกำลังลดลง เฉื่อยชา น้ำหนักตัวขึ้นง่าย ผิวแห้งหยาบกร้าน
2. ฮอร์โมนเพศ ทั้งฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) และฮอร์โมนเพศหญิง (Estradiol)
นอกจากจะมีส่วนช่วยที่จะทำให้เกิดลักษณะความเป็นชายหรือผู้หญิง ฮอร์โมนเพศยังมีผลในเรื่องพละกำลัง ความกระฉับกระเฉง และมีผลต่อสมรรถภาพทางเพศด้วย ฮอร์โมนเพศชายมีความสำคัญต่อการสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก ฮอร์โมนเพศหญิงจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน โรคอัลไซเมอร์ โรคกระดูกพรุน ฯลฯ
3. ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ต่อมหมวกไตจะมีการผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ
คือ ฮอร์โมน DHEASและฮอร์โมน Cortisol โดยฮอร์โมน DHEASจะเป็นฮอร์โมนตั้งต้นที่ร่างกายใช้ในการผลิตเป็นฮอร์โมนเพศ ทั้งยังมีส่วนช่วยเรื่องของพละกำลัง ลดการอักเสบที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ช่วยเรื่องปรับอารมณ์ทำให้ไม่เกิดภาวะซึมเศร้าส่วนฮอร์โมน Cortisolมีส่วนช่วยทำให้ร่างกายเราตื่นตัว เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยให้เซลล์ต่างๆในร่างกายเตรียมพร้อมต่อภาวะ Stressต่างๆ ที่จะเกิดภายในร่างกายมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลให้ร่างกายมีสมดุลในการผลิตฮอร์โมนทั้งสองเปลี่ยนแปลงไป เช่น การเจ็บป่วยรุนแรง ภาวะเครียด การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ การรับประทานยาหรือใช้ยาในกลุ่ม Steroidเป็นเวลานานๆการขาดวิตามินบางชนิด ฯลฯ
4. โกรทฮอร์โมนหรือฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต
เป็นฮอร์โมนที่มีการผลิตมากในช่วงที่มีการเจริญเติบโตเช่นวัยรุ่น ภายหลังอายุ 20 ปี การผลิตโกรทฮอร์โมนจะเริ่มลดน้อยลง โกรทฮอร์โมนจะทำหน้าที่ในการซ่อมแซมเซลล์ส่วนต่างๆของร่างกายที่สึกหรอ โกรทฮอร์โมนมีการผลิตหลั่งออกมาในร่างกายมากช่วง 4 ทุ่มถึงเที่ยงคืน การรับประทานอาหารที่เน้นแป้ง น้ำตาล และไขมันก็จะส่งผลให้การผลิตโกรทออร์โมนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น