ชัวร์หรือมั่วนิ่ม…คุณรู้จัก “กลูโคส” มากน้อยแค่ไหน??

0

“กลูโคส” หรือ “น้ำตาลกลูโคส” (Glucose)

เป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เรียกว่าโมโนแซ็กคาไรด์ (Monosaccharide)เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด เมื่อกินแล้วจะดูดซึมจากลำไส้ได้เลย ไม่ต้องผ่านการย่อยน้ำตาลส่วนใหญ่ที่พบในเลือด คือ กลูโคส ซึ่งเป็นตัวให้กำลังงานที่สำคัญ

“น้ำตาลกลูโคส” เป็นสารให้ความหวาน โดยมีความหวานสัมพัทธ์ (Relative sweetness) เท่ากับ 70-80

กลูโคส (1)

เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำตาลซูโครส ซึ่งมีความหวานสัมพัทธ์เท่ากับ 100น้ำตาลกลูโคสให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรีต่อกรัมน้ำตาลกลูโคสเป็นน้ำตาลเชิงเดี่ยวที่มีความสำคัญ เพราะเป็นน้ำตาลพื้นฐานของคาร์โบไฮเดรตทุกตัว หรือเป็นสารตั้งต้นของการผลิตพลังงาน

กล่าวคือ น้ำตาลเชิงเดี่ยวทุกตัวจะต้องเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสที่ตับก่อน จึงจะนำไปใช้ได้ ด้วยเหตุนี้น้ำตาลกลูโคสจึงเป็นน้ำตาลที่พบมากในร่างกายโดยเฉพาะในเลือดบางครั้งจึงเรียกว่า Blood Sugar ระดับน้ำตาลหรือน้ำตาลกลูโคสในเลือดปกติจะประมาณ 70-110 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรการทำงานของสมองต้องพึ่งกลูโคสเป็นตัวให้กำลังงานที่สำคัญเนื่องจากเซลล์ในสมองใช้กลูโคสเพียงอย่างเดียวเป็นแหล่งพลังงาน สมองจึงต้องได้รับกลูโคสจากเลือดตลอดเวลา

แหล่งอาหารธรรมชาติที่พบกลูโคส คือ ข้าว แป้ง น้ำตาล น้ำผึ้ง ผัก และผลไม้ ผลไม้ที่พบว่ามีมาก คือ องุ่น (น้ำตาลชนิดนี้จึงถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า “น้ำตาลองุ่น” หรือ grape sugar)

กลูโคส (2)

เซลล์จำนวนมากใช้ไขมันและโปรตีน ในการสร้างพลังงานได้ อย่างไรก็ดี เนื้อเยื่อประสาทใช้กลูโคสอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนในสัตว์มักพบน้ำตาลกลูโคสมีอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากเป็นสารที่จำเป็นต้องใช้ในการเปลี่ยนโมเลกุลของไขมันและโปรตีนเป็นคาร์โบไฮเดรตด้วยเหตุนี้กลูโคสจึงเป็นน้ำตาลที่พบมากในร่างกายมนุษย์

เนื่องจากน้ำตาลกลูโคสเป็นน้ำตาลชนิดที่ร่างกายดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้เร็วที่สุด จึงมีผลในการเพิ่มน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว ในผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องระมัดระวังในการบริโภคน้ำตาลชนิดนี้ น้ำตาลกลูโคสมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่อ่อนเพลียมากหรือผู้ป่วย ซึ่งต้องการพลังงานอย่างรวดเร็ว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *