ทำไมเราถึง “หงุดหงิด” พร้อม 10 ผลข้างเคียงจากอารมณ์นี้!

0

เชื่อว่าไม่มีใคร ไม่เคยหงุดหงิดมาก่อน “หงุดหงิด” เป็นความรู้สึกของความปั่นป่วน มักเป็นเพราะต้องการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ตึงเครียด เป็นอาการทางสุขภาพจิต เด็กมักเป็นเมื่อป่วยหรือว่าเหนื่อยแต่ในผู้ใหญ่นั้นมีหลากหลายสาเหตุมากกว่า แต่มักเป็นครั้งคราว หากเพื่อนๆ มีอาการหงุดหงิดเป็นประจำควรปรึกษาแพทย์

irritable-mood

อะไรที่ทำให้หงุดหงิด?

หลายสิ่งหลายอย่างอาจทำให้หงุดหงิดได้ สาเหตุสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภททั่วไปคือ ทางร่างกายและจิตใจ สาเหตุที่มาจากทางจิตใจ หรือจิตวิทยาทั่วไปบางประการของความหงุดหงิด ได้แก่

  • ความตึงเครียด
  • ความกังวล
  • ภาวะโรคซึมเศร้า
  • โรคสองขั้ว หรือไบโพลาร์
  • โรคจิตเภทอื่นๆ
  • มีความหมกหมุ่น

สาเหตุทางกายภาพทั่วไป ได้แก่

  • อดนอน
  • น้ำตาลในเลือดต่ำ
  • หูอักเสบ
  • ปวดฟัน
  • โรคเบาหวาน
  • ไข้หวัดใหญ่

เงื่อนไขทางการแพทย์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอาจส่งผลต่ออารมณ์ของเราด้วยเช่นเดียว ตัวอย่างรวมถึง

  • วัยหมดประจำเดือน
  • Premenstrual syndrome (PMS) หรือที่เรารู้จักกันดีว่า อาการก่อนประจำเดือนจะมา
  • กลุ่มอาการเกี่ยวกับรังไข่ Polycystic (POS)
  • ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (Hyperthyroidism)
  • โรคเบาหวาน

และอาจหงุดหงิดเพราะเป็นผลข้างเคียงจากยาที่เราทาน นี่คือสาเหตุที่เป็นไปได้อื่นๆ

คนส่วนใหญ่รู้สึกหงุดหงิดเป็นครั้งคราว ตัวอย่างเช่นเป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกหงุดหงิดหลังจากนอนหลับพักผ่อนไม่ดีพอ บางคนก็รู้สึกหงุดหงิดเป็นประจำ หากเพื่อนๆ เป็นหนึ่งในคนเหล่านี้โปรดติดต่อแพทย์ เพราะคุณหมอจะสามารถช่วยเพื่อนๆ ระบุสาเหตุที่เป็นไปได้ของความหงุดหงิดที่เป็นประจำ

10 ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อ “หงุดหงิด”

  1. มีการขับเหงื่อ (เหงื่อออกเยอะขึ้น)
  2. หัวใจเต้นเร็ว
  3. หายใจเร็ว
  4. สับสน
  5. โกรธ
  6. ไข้
  7. ปวดหัว
  8. รอบประจำเดือนผิดปกติ
  9. แรงขับเคลื่อนทางเพศลดลง
  10. ผมร่วง

สำหรับแนวทางการรักษานั้น อย่างที่กล่าวไปข้างต้นครับว่า เป็นอาการทั่วไป ยกเว้นว่ามีเงื่อนไขอื่นๆ ที่เพื่อนๆ ควรพบแพทย์ หากพบว่าตัวเองหงุดหงิดเป็นประจำอย่างที่เพื่อนๆ เองไม่สามารถระบุ หรือหาสาเหตุของมันได้อย่างแน่ชัด ทั้งนี้ ลองเปลี่ยนพฤติกรรมของเราใหม่ ปรับอาหารการกินให้ดีขึ้น ออกกำลังกายและหาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นเรื่องพื้นฐานเลยครับ

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *