เที่ยวป่าให้ระวัง! “ไข้รากสาดพุ่มไม้” โรคร้ายชื่อแปลก!

0

เตือนภัยกันไว้ล่วงหน้า สำหรับผู้หลงใหลในความงามของธรรมชาติและชื่นชอบการเที่ยวป่าเขาลำเนาไพร โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวที่สภาพอากาศดี๊ดี ดึงดูดนักท่องเที่ยวสุดๆ  เพราะถ้าคุณเที่ยวอย่างไม่ระวัง อาจได้ของแถมที่ไม่พึงปรารถนาคือ “โรคไข้รากสาดพุ่มไม้” จากการถูกตัวไรอ่อนกัดได้โดยไม่รู้ตัว

“โรคไข้รากสาดพุ่มไม้”

Scrub typhus

หรือ “โรคสครับไทฟัส” (Scrub typhus)เป็นโรคไข้สูงเฉียบพลันซึ่งเกิดจากร่างกายติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มริกเก็ตเซีย (Rickettsia) ชนิด Rickettsia tsutsugamushiมีตัวไรอ่อนเป็นพาหะ จึงเรียกอีกชื่อว่า“โรคไข้รากสาดไรอ่อน” (Chigger) โดยพบผู้ป่วยโรคนี้ได้ตลอดปี โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานอยู่กับต้นไม้ หรือพุ่มเตี้ยๆ หรือการไปเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติต่างๆ ที่มีต้นไม้หรือพุ่มไม้เตี้ยๆ ได้แก่ ชาวไร่ ชาวสวน นักล่าสัตว์ นักท่องป่า ทหาร และผู้ที่ออกไปตั้งค่ายในป่า จะพบมากในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว

ในตัวไรอ่อนจะมีเชื้อริกเก็ตเซีย โดยจะชอบกัดบริเวณในร่มผ้า เช่น ขาหนีบ เอว ลำตัว รักแร้ หลังถูกกัดประมาณ 10-12 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยเนื้อตัว ตาแดง ปวดกระบอกตา มีบาดแผลคล้ายถูกบุหรี่จี้ในจุดที่ถูกไรอ่อนกัด ลักษณะมีสีแดงคล้ำเป็นรอยบุ๋ม ไม่คัน บางรายอาจหายได้เอง

แต่บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ เช่น ปอดอักเสบ สมองอักเสบ ไตวายเฉียบพลัน ทำให้เสียชีวิตได้ฉะนั้นหากภายใน 2 สัปดาห์หลังออกจากป่าแล้วมีอาการป่วยดังที่กล่าวมาข้างต้น ให้สงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที โดยโรคนี้รักษาได้ด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ ทั้งนี้เมื่อเป็น“โรคไข้รากสาดพุ่มไม้” แล้ว รักษาหายแล้ว สามารถติดเชื้อได้ใหม่อีก

การป้องกันไม่ให้ไรอ่อนกัดนั้น ควรสวมเสื้อผ้าที่มิดชิด อาทิ ใส่รองเท้า ถุงเท้าหุ้มปลายขากางเกงไว้ ใส่เสื้อแขนยาวปิดคอ และเหน็บปลายเสื้อเข้าในกางเกง ทายาป้องกันแมลงหรือตัวไร ไม่นั่ง นอนบนหญ้า ฝาง นานๆ หรืออยู่ใกล้ อยู่ใต้ต้นไม้ พุ่มไม้เตี้ยๆนานๆที่สำคัญเมื่อกลับจากเดินป่าหรือทำงาน ให้ถอดเสื้อผ้าออกซักทันทีให้สะอาด แล้วตากแดดจัดให้แห้งสนิท รวมถึงรีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทันที เพื่อกำจัดตัวไรที่อาจติดอยู่

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *