“โรคกลีบกุหลาบ” ชื่อน่าหลงใหลแต่อาการไม่น่ารักอ่ะ

0

“โรคกลีบกุหลาบ” (Pityriasisrosea)

หรืออีกหลายชื่อที่ถูกเรียก ไม่ว่าจะเป็น โรคผื่นกุหลาบ, โรคผื่นขุยกุหลาบ, โรคผื่นร้อยวัน เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบบ่อยในวัยรุ่นและผู้ใหญ่มีผื่นลักษณะเฉพาะ และมีอาการเฉียบพลัน ผื่นจะมีสีชมพูเหมือนสีดอกกุหลาบ จึงเป็นที่มาเรียกว่า “ผื่นขุยกุหลาบ” ส่วนลักษณะผื่นที่เป็นวงรีหรือวงกลมรูปไข่ จึงถูกเรียกว่า “โรคกลีบกุหลาบ”

Pityriasisrosea (2)

สาเหตุของโรคกลีบกุหลาบยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีรายงานว่า เป็นการตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่ง หลังการติดเชื้อบางอย่าง โดยเฉพาะเชื้อไวรัสกลุ่ม HHV 7 (Human herpes virus 7)

นอกจากนี้การใช้ยาบางประเภทกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ได้ เช่น ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACEI, ยาฆ่าเชื้อ Metronidazole, ยารักษาสิว Isotretinoin, ยารักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ Omeprazole เป็นต้น โดยถ้าเป็นผื่นที่เกิดจากยากระตุ้น จะหายช้ากว่าผื่นที่ไม่ได้เกิดจากยากระตุ้น

อาการแสดง มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว บางคนมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วยแต่อาการเหล่านี้มักจะพบได้น้อย หลังจากนั้น จะมีผื่นขึ้นฉับพลันขึ้นมาก่อนหนึ่งจุดบนร่างกายเป็นจุดเริ่ม จุดผื่นนี้จะมีขนาดประมาณ 2-6 เซนติเมตร มีสีชมพูหรือสีน้ำตาล โดยผื่นนี้จะมีขุยด้วย หลังจากนั้นอีกประมาณ 2-10 วัน จะมีผื่นกระจายตัวไปทั่วตัว

Pityriasisrosea (1)

การกระจายตัวที่ลำตัว จะมีลักษณะตามแนวรอยพับของผิวหนัง คล้ายต้นคริสต์มาส จึงเรียกว่า “Christmas tree distribution” โดยทั่วไปผื่นนี้จะคงอยู่ได้นาน 6-8 สัปดาห์ หรือบางครั้งได้นานถึง 3 เดือน หลังจากนั้นผื่นจะค่อยๆจางหายไปได้เอง

สำหรับการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคกลีบกุหลาบ คือ ควรหลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนจัด เพราะสามารถกระตุ้นให้ผื่นเห่อขึ้นได้ ร่วมกับการพักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงความเครียด โรคกลีบกุหลาบไม่ทำให้เกิดแผลเป็น เมื่อผื่นหาย รอยดำก็จะค่อยๆจางลง และหายไปเองในที่สุดทั้งนี้ โรคกลีบกุหลาบ ไม่ใช่ “โรคติดต่อ”ไปบุคคลอื่น ทั้งจาก การกิน ดื่ม การสัมผัส หรือทางหายใจ ร่วมกันโรคกลีบกุหลาบไม่ทำให้เสียชีวิต แต่กลับเป็นซ้ำได้ โดยที่พบการกลับเป็นซ้ำได้น้อยมากๆ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *