“ไข้รากสาดเทียม” อีกหนึ่งโรคติดต่อผ่านอาหารปนเปื้อน ทำความรู้จักเพื่อป้องกัน

0

หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่สนใจติดตามข่าวสารเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บและสุขภาพอยู่เนือง ๆ เชื่อว่าคงเคยผ่านหูผ่านตาเกี่ยวกับโรคตระกูลไข้รากสาดมาบ้าง ซึ่งในวงการแพทย์ปัจจุบันจัดว่าไข้รากสาดมีสามชนิดคือ ไข้รากสาดใหญ่ ไข้รากสาดน้อย และไข้รากสาดเทียม โดยในครั้งนี้เราขอโฟกัสไปที่ “โรคไข้รากสาดเทียม”

“ไข้รากสาดเทียม”

หรือ “ไข้พาราไทฟอยด์” (Paratyphoid fever) จัดอยู่ในกลุ่ม “โรคไข้เอนเทอริก” เช่นเดียวกันกับโรคไทฟอยด์หรือโรคไข้รากสาดน้อยเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจากทางเดินอาหาร ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อกับอวัยวะทุกระบบของร่างกาย

Thai traditional food set.

โดยเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคไข้พาราไทฟอยด์ เป็นเชื้อชื่อ ซาลโมเนลลา เอนเทริกา(Salmonella enterica) ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ย่อย ทั้งนี้ เชื้อไข้รากสาดเทียมสามารถอยู่นอกร่างกายได้เป็นวันไปจนถึงเป็นปี ขึ้นกับแหล่งที่มันอยู่ และชนิดของสายพันธุ์ย่อย

การติดเชื้อไข้รากสาดเทียมเป็นการติดเชื้อทางเดินอาหาร จากการกินอาหาร หรือ ดื่มน้ำปนเปื้อนเชื้อนี้ หรือปากสัมผัสกับมือที่มีเชื้อนี้อยู่ (จากอุจจาระ หรือ ปัสสาวะของคนที่ป่วยโรคนี้ หรือที่เป็นพาหะโรคนี้) ผู้ป่วยโรคไข้รากสาดเทียมจะสามารถแพร่เชื้อทางอุจจาระและปัสสาวะได้ตั้งแต่เริ่มติดเชื้อ กล่าวคือ ตั้งแต่ในระยะฟักตัวของโรค ไปจนถึงประมาณ 2-3 สัปดาห์หลังอาการหายแล้ว ที่น่ากลัวคือในผู้ป่วยบางราย ยังมีเชื้ออยู่ในร่างกายอีกยาวนาน ซึ่งจะเป็นพาหะโรคได้นานเป็นเดือน หรือเป็นปีเลยทีเดียว

อาการของไข้รากสาดเทียม ได้แก่…

  • มีไข้สูงลอย ปวดศีรษะและหนาว เป็นอยู่หลายวัน
  • เบื่ออาหาร
  • ชีพจรอาจช้ากว่าที่ควรจะเป็นในขณะที่มีไข้สูง
  • ท้องอืดมาก ปวดท้อง หลายวันจึงจะถ่าย อุจจาระ ลักษณะเหลว มีกลิ่นเหม็น
  • อาจมี DIC shock คือภาวะที่เลือดแข็งตัว กระจายไปทั่วร่างกาย
  • อาจพบตับโต ม้ามโต เล็กน้อยโดยอาการของโรคไข้รากสาดเทียม อ่อนกว่า และระยะโรคสั้นกว่าไข้รากสาดน้อย

ไข้รากสาดเทียมเป็นโรคที่รักษาได้หายภายในระยะเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ และอัตราเสียชีวิตต่ำเมื่อได้รับยาที่ถูกต้องตั้งแต่เมื่อเริ่มมีอาการ ฉะนั้นหากสงสัยว่าป่วยด้วยโรคนี้ควรรีบไปพบแพทย์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *