ดูแล “ภาวะกระดูกพรุน” โดยไม่ต้องใช้ยา

0

วิวัฒนาการทางการแพทย์ปัจจุบันส่งผลให้ประชาชนมีอายุยืนยาวขึ้น ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุนี้มักประสบปัญหาด้านความเสื่อมถอยของร่างกาย โดยเฉพาะกระดูกที่เป็นโครงสร้างยึดเกาะกล้ามเนื้อ ช่วยให้ร่างกายคงรูปร่างได้ตามปกติ ซึ่งหากเนื้อกระดูกมีความหนาแน่นลดลงจากการสูญเสียมวลกระดูก จะส่งผลให้เกิด “ภาวะกระดูกพรุน” ได้

อันตรายของภาวะกระดูกพรุนนอกจากจะต้องระวังการแตกหักของกระดูกบริเวณอวัยวะต่างๆ แล้ว สิ่งที่อาจเกิดขึ้นตามมาคือภาวะกระดูกหักซ้ำ

เช่น บริเวณสะโพก ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดเรื้อรังและรุนแรงถึงขั้นพิการภาวะกระดูกพรุนมักเกิดกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะสตรีที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป ส่วนผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วใน 5 ปีแรก ทำให้กระดูกหักได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก และข้อมือ ทำให้เกิดปัญหาการเดินและการเคลื่อนไหวร่างกาย

close up of a  man holding his back in pain.

อาการของภาวะกระดูกพรุนจะไม่จำเพาะจนกว่าจะมีกระดูกหักเกิดขึ้น อาการที่อาจพบ คือ ปวดหลัง ตำแหน่งที่ปวดไม่ชัดเจนและอาจปวดร้าวไปข้างใดข้างหนึ่ง กระดูกหลังยุบตัว หลังค่อม ความสูงลดลงซึ่งหากพบความผิดปกติดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ทันที ห้ามผู้ป่วยซื้อยามารับประทานเองเพราะตัวยาอาจมีส่วนประกอบของสารสเตียรอยด์ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนมากยิ่งขึ้น

การดูแลภาวะกระดูกพรุนโดยไม่ต้องใช้ยา สามารถทำได้โดย…

  1. กินอาหารให้ครบหมวดหมู่ มีแคลเซียมสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม กุ้งแห้ง ปลาตัวเล็กที่กินได้ทั้งกระดูก ถั่วต่างๆ เต้าหู้ งาดำ ผักใบเขียว เช่น ผักโขม ผักคะน้า ใบชะพลู ใบยอ เป็นต้น
  2. ควรลดอาหารที่มีไขมันมาก เนื่องจากไขมันจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม
  3. ออกกำลังกายชนิดที่มีการลงน้ำหนัก เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ
  4. หมั่นรับแสงแดดอ่อนในช่วงเช้า
  5. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่

ทั้งนี้ควรเสริมสร้างเนื้อกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่ในวัยเด็ก สำรวจตนเองหากมีอาการเดินเซเป็นประจำหรือรับประทานยามากกว่า 4 ชนิด ควรพบแพทย์เพื่อปรับลดยาที่อาจทำให้วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดได้

นอกจากนี้ควรปรับสภาพแวดล้อมในบ้านให้เหมาะสม มีแสงสว่างเพียงพอ ป้องกันการลื่นล้มที่อาจส่งผลให้พิการได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *