“ไทฟอยด์” โรคจากเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ควรมองข้าม!!

0

“โรคไทฟอยด์”

หรือ “โรคไข้รากสาดน้อย” (Typhoid fever) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถแพร่ระบาดจากคนสู่คนได้ โดยกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อจากผู้ที่เป็นพาหะเข้าไป ผู้ป่วยจะมีอาการไข้และปวดท้องเป็นหลัก ที่น่ากลัวก็คือ ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและไม่ได้ยาปฏิชีวนะสำหรับรักษา จะมีโอกาสเสียชีวิตได้ โรคนี้มีวัคซีนสำหรับป้องกัน แต่ระยะเวลาการป้องกันขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน

ไทฟอยด์

โรคไทฟอยด์มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียชื่อ Samonellatyphiและ Samonellaparatyphi ผู้ป่วยได้รับเชื้อนี้โดยการกิน เมื่อเชื้อเข้าสู่ทางเดินอาหารจะบุกรุกทำลายเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร และจะแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือดได้ จากนั้นเชื้อยังสามารถกระจายไปยังตับ ม้าม ท่อน้ำดี และผิวหนังได้

ความที่เชื้อ 2 ชนิดนี้พบเฉพาะในคน การติดต่อจึงเกิดจากคนสู่คนเท่านั้น โดยผู้ที่ป่วยเป็นโรคจะขับเชื้อออกทางอุจจาระเป็นหลัก ดังนั้นการติดต่อจึงเกิดขึ้นได้จากการขับถ่ายที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การไม่ล้างมือก่อนการหยิบจับอาหาร การกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ และการใช้แหล่งน้ำบริโภคที่มีเชื้อ

ระยะฟักตัวของโรคไทฟอยด์ คือ ตั้งแต่รับเชื้อจนกระทั่งแสดงอาการประมาณ 3-21 วัน ระยะเวลาจะสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่ได้รับอาการที่เด่นชัดของโรคไทฟอยด์ คือ มีไข้โดยในแต่ละวันไข้จะขึ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ และจะหายไปในตอนเช้า ส่วนอาการอื่นๆ ที่อาจพบร่วมได้ เช่น หนาวสั่น ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร อ่อนเพลียปวดท้อง ถ่ายเหลว ท้องผูกเจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ เมื่อเป็นไข้ได้ประมาณ 7 วัน ไข้จะเริ่มคงที่ โดยจะอยู่ที่ประมาณ 39-40 องศาเซลเซียสในรายที่รุนแรงและไม่ได้รับการรักษาอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อในกระแสโลหิต ลำไส้อักเสบ มีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร แต่พบได้น้อยมาก

การป้องกันโรคที่สำคัญคือการดูแลสุขอนามัย รับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุกผักหรือผลไม่ต้องล้างให้สะอาดจริงๆ

เพราะปนเปื้อนเชื้อได้ง่าย ส่วนน้ำดื่มและน้ำแข็งก็ต้องเลือกที่สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานที่สำคัญควรล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารเสมอ รวมถึงล้างมือให้สะอาดหลังจากการขับถ่ายทุกครั้งนอกจากนี้ ในปัจจุบันยังมีวัคซีนป้องกันไข้ไทฟอยด์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *