“ไข้หวัดใหญ่” VS “ไข้เลือดออก” ต่างกันยังไงนะ??

0

ผลพวงจากที่ตอนนี้กระแสความน่ากลัวของ “โรคไข้เลือดออก” กำลังเป็นที่ฮือฮาในบ้านเรา หลายคนสับสนระหว่าง “โรคไข้เลือดออก” กับ“โรคไข้หวัดใหญ่” เพราะมีอาการคล้ายคลึงมากว่าแล้วมาเจาะลึกถึงความแตกต่างของสองโรคนี้กันดีกว่าเผื่อเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา จะได้รักษาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และตรงจุด

ไข้หวัดใหญ่-vs-ไข้เลือดออก

  1. “โรคไข้เลือดออก” เป็นโรคระบาดที่มีอยู่ด้วยกันถึง 4 สายพันธุ์ (DEN1-4) โดยผลัดเปลี่ยนกันมาระบาดตามแต่ความชุกที่แตกต่างกัน (ฉะนั้นเราสามารถกลับมาเป็นโรคไข้เลือดออกได้ถึง4 ครั้งในช่วงชีวิตหนึ่งแม้เคยเป็นแล้วหาย ก็สามารถกลับมาเป็นได้อีก)
  2. “โรคไข้หวัดใหญ่” แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (H1N1 2009) ที่ทำให้เกิดการระบาดทั่วโลก โดยส่วนใหญ่อาการของโรคมักไม่รุนแรงสามารถหายได้เองภายใน3-5 วัน ยกเว้นกลุ่มเสี่ยงที่อาจมีอาการรุนแรงได้
  3. “โรคไข้เลือดออก” พบได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กอายุ 5–15 ปี สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้มักมีเลือดออก (เช่น อาเจียนเป็นเลือด) ส่วน “โรคไข้หวัดใหญ่” พบได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในเด็ก
  4. “โรคไข้เลือดออก” พบได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบมากเป็นพิเศษในช่วงฤดูฝน ส่วน “โรคไข้หวัดใหญ่”พบได้เกือบทั้งปี แต่จะพบมากทั้งในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
  5. “โรคไข้เลือดออก”มีระยะฟักตัว 5-8 วัน ส่วน “โรคไข้หวัดใหญ่”มีระยะฟักตัว 1-4 วัน
  6. อาการของโรคทั้งสองที่เหมือนกันคือ อาการไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ส่วนที่ต่างกันคือ“โรคไข้เลือดออก”ผู้ป่วยจะมีจุดเลือดออกเล็กๆกระจายอยู่ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดาหรือเลือดออกตามไรฟันปวดท้องหรือมีตับโตบางรายอาจมีภาวะความดันโลหิตต่ำหรือภาวะช็อกร่วมด้วย ส่วนผู้ป่วย “โรคไข้หวัดใหญ่”จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อมากโดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขนต้นขา อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ขมในคอ
  7. ผู้ป่วย “โรคไข้หวัดใหญ่”มักมีอาการทางระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย ซึ่งได้แก่ คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอ บางรายมีอาการเจ็บคอ บางรายมีอาการรุนแรง เช่น ไอมาก หอบเหนื่อย หายใจลำบาก และอาจหนักถึงขั้นปอดบวม หายใจล้มเหลว จนถึงเสียชีวิตได้ ซึ่งอาการทางระบบหายใจเหล่านี้ไม่ปรากฏใน “โรคไข้เลือดออก”
  8. “โรคไข้เลือดออก”ช่วงอันตรายของโรคคือ ระยะช็อก (มักเป็นวันที่ไข้ลง) อาการนำของช็อก ซึ่มักมีอาการเบื่ออาหารมากขึ้น ไม่รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำเลย ถ่ายปัสสาวะน้อยลง ปวดท้องกะทันหัน กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ดังนั้นจึงควรระวังอาการช็อกมากกว่าเลือดออก หากพบอาการเหล่านี้ให้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *