เมื่อเด็กติดโควิด-19 ต้องรับมืออย่างไร?

0

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 6ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 – 25 กรกฎาคม 2564 พบว่า มีเด็กต่ำกว่า 6 ปีติดเชื้อ13,444 ราย มีอาการรุนแรง 791 ราย และเสียชีวิต 2 ราย ความที่มีผู้ป่วยจำนวนมากยังไม่มีเตียง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องเตรียมพร้อมรับมือ หากลูกน้อยติดโควิด!

โดยแนวทางปฏิบัติเมื่อพบว่าเด็กติดเชื้อโควิด-19 แบ่งเป็น 2 แนวทาง ดังนี้

แนวทางที่ 1 กรณีเด็กเป็น ผู้ติดเชื้อและผู้ปกครองเป็นผู้ติดเชื้อ ให้เข้ารับการรักษา โดยเน้นให้จัดอยู่เป็นกลุ่มครอบครัว แนวทางที่ 2 กรณีเด็กเป็นผู้ติดเชื้อแต่ผู้ปกครองไม่เป็นผู้ติดเชื้อ ให้เด็กเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือฮอสพิเทลโดยผู้ปกครองควรมีอายุไม่เกิน 60 ปี และไม่มีโรคประจำตัว สามารถเข้าดูแลเด็กในสถานพยาบาลได้ แต่สำหรับโรงพยาบาลสนาม ควรจัดพื้นที่ให้เด็กและผู้ปกครองเป็นการเฉพาะ โดยแยกจากผู้ติดเชื้ออื่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะสัมผัสเชื้อโรคได้ 

อย่างไรก็ดี จากสถานการณ์ปัจจุบันที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก เมื่อรู้ผลตรวจแล้วว่าเจ้าตัวเล็กติดโควิด ก็อาจจะต้องใช้เวลารอเตียงอีกหลายวัน ระหว่างนั้นพ่อ แม่ ผู้ปกครอง สามารถดูแลเด็กน้อยอยู่ที่บ้านได้โดย

1. สวมหน้ากากอนามัยทั้งตนเองและลูก เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ยกเว้นกรณีเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี

2. สอนให้เด็กไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ฝึกเรื่องการสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ การเว้นระยะห่างให้เป็นสุขนิสัยประจำตัว รวมถึงให้ลูกล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล 70 % ทุกครั้งก่อนและหลังสัมผัสสิ่งของที่ต้องใช้ร่วมกับคนอื่น

3. แยกห้องอยู่ แยกของใช้ส่วนตัว แยกรับประทานอาหาร และหากเป็นไปได้ควรแยกห้องน้ำ และให้งดการสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงชั่วคราว เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถติดไปกับขนสัตว์ได้

4. ทำความสะอาดฆ่าเชื้ออุปกรณ์ภายในบ้านด้วยน้ำผสมผงซักฟอก น้ำผสมน้ำยาฟอกขาว หรือแอลกอฮอล์ 70% เปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทสะดวก รวมถึงหมั่นทำความสะอาดเครื่องเล่น หรือของเล่นด้วยน้ำยาทำความสะอาดทั่วไป

5. งดทำกิจกรรมร่วมกัน งดให้คนอื่นมาเยี่ยม พ่อแม่ควรออกจากบ้านเท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ ควรจัดหากิจกรรมที่เด็กชอบและสามารถทำได้ด้วยตนเองที่สอดคล้องกับพัฒนาการเด็ก เช่น ต่อจิ๊กซอว์ ระบายสี เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง

6. ในส่วนของการเตรียมอาหาร เน้นให้เด็กได้กินผัก ผลไม้ 5 สี เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และจัดเตรียมอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายทุกวัน นอนหลับให้เพียงพอ 9-11 ชั่วโมงต่อวัน

ทั้งนี้ ระหว่างที่รอเตียง เจ้าตัวเล็กอาจมีอาการของโรคที่อาจเกิดขึ้น เช่น ไอ มีไข้ อ่อนเพลีย จึงควรเตรียมยาต่าง ๆ ให้พร้อม เช่น Flemex Kids ใช้บรรเทาอาการไอ ละลายเสมหะ ลดความข้นเหนียวของเสมหะ ทำให้ขับออกได้ง่ายขึ้น สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบรับประทาน 1/2 ช้อนยา วันละ1-2ครั้งส่วนเด็กอายุ 2-5 ขวบ รับประทาน 1 ช้อนชา วันละ1-2ครั้ง

Aqua Maris Baby Nasal Spray ใช้ทำความสะอาด และชะล้างสิ่งแปลกปลอม รวมถึงเชื้อก่อโรคภายในโพรงจมูกเด็กได้อย่างอ่อนโยน อนุภาคขนาดเล็กของน้ำเกลือยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้เยื่อบุผิวภายในโพรง จมูก ช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น เสริมสร้างสุขอนามัยของจมูก โดยพ่นสเปรย์เข้ารูจมูกข้างละ 1 – 2 พัฟ วันละ 3 – 4 ครั้ง หรือพ่นได้บ่อยตามต้องการ

ที่สำคัญ พ่อ แม่ ผู้ปกครองต้องไม่ลืมสื่อสาร อธิบายให้ลูกน้อยเข้าใจถึงเหตุผลว่าทำไมต้องทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อทำให้เจ้าตัวเล็กไม่รู้สึกโดดเดี่ยว หรือเครียดกับการใช้ชีวิตที่ต่างไปจากปกติ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *