อากาศร้อนแม่ท้องต้องระวัง “ภาวะขาดน้ำ”

0

ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนของทุกปี ประเทศไทยจะมีอากาศที่ร้อนจัดมากขึ้นทุกปี ประชาชนที่ทำงานหรือออกกำลังกายกลางแดดเป็นเวลานาน อาจทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ โดยหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการและน่าเป็นห่วงคือ หญิงตั้งครรภ์ เพราะอาจจะเป็นลมและเกิดอันตรายต่อตัวเองและทารก

ภาวะขาดน้ำ คืออะไร

ภาวะที่ร่างกายมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอจนส่งผลต่อการทำงานของระบบไหลเวียนและอวัยวะต่างๆ โดยช่วงต้นจะมีอาการปากคอแห้ง กระหาย อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียน หากขาดน้ำมากขึ้นจะเริ่มกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิต เช่น ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเต้นเบาเร็ว ซึมลง หรือความดันโลหิตต่ำ ซึ่งความรุนแรงที่มากจะส่งผลให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว จนอาจถึงแก่ชีวิตได้

hot-weather-the-mother-must-be-careful-of-dehydration

ดังนั้น หากคุณแม่ท้องต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนหรือออกกำลังกายกลางสภาพอากาศร้อน ควรดูแลตัวเองเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ดังนี้

  1. ควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร แม้จะไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม หรือแม้ว่าจะทำงานในที่ร่มก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว หรือ 2 ลิตร ต่อวัน เพราะสามารถป้องกันภาวะขาดน้ำได้
  2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  3. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะยิ่งอากาศร้อนมาก การดูดซึมแอลกอฮอล์จะสูง ทำให้เข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทันอาจปวดศีรษะ ความดันโลหิต
  4. สวมเสื้อผ้าที่สามารถระบายความร้อนได้ดี รวมถึงกางร่ม สวมหมวกปีกกลาง สวมแว่นกันแดด
  5. ใช้โลชั่นหรือครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไปทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน และควรทาซ้ำบ่อยๆ ถ้าต้องถูกแดดนานๆ เพื่อป้องกันผิวจากรังสียูวีซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิดคล้ำหรือเกิดกระฝ้าต่างๆ
  6. พยายามอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
  7. หากต้องเดินทางไกล ควรมีผู้ดูแลร่วมเดินทางด้วยเพื่อดูแลอย่างใกล้ชิดและป้องกันอุบัติเหตุหากมีอาการหน้ามืด วิงเวียนหรือเป็นลมเมื่อเจออากาศที่ร้อนจัดภายนอก

หากพบคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการตัวร้อนจัด ผิวหนังแดงและแห้ง ไม่มีเหงื่อ หน้าซีด หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง ปวดศีรษะ หน้ามืด คลื่นไส้อาเจียน เบื้องต้นให้นำเข้าที่ร่มทันที ให้นอนราบและยกเท้าสูงทั้ง 2 ข้าง ถอดเสื้อผ้าออก ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว หรือห่มด้วยผ้าเปียก พ่นน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว คอ รักแร้ ขาหนีบ และใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน

ทั้งนี้ หากอาการไม่ดีขึ้นใน 30 นาที ให้รีบพาคุณแม่ท้องนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *