ขับรถอย่างปลอดภัยสไตล์ “คุณแม่ตั้งครรภ์”

0

ในระหว่างการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย อาทิ เวียนศีรษะ หน้าท้องขยายใหญ่ขึ้น อาการบวมตามแขนขา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ ล้วนแล้วจะส่งผลให้ขาดความคล่องตัวในการเดินทาง เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องหาวิธีเพื่อช่วยให้คุณแม่ท้องขับรถได้อย่างปลอดภัยค่ะ

6 ทริคเพื่อการขับรถอย่างปลอดภัยสไตล์ “คุณแม่ตั้งครรภ์”

drive-safely-style-pregnant

  1. ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่ท้องไม่ควรขับรถเพราะเป็นช่วงที่สุ่มเสี่ยงต่อการแท้ง หรือมีปัญหาแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ได้ง่าย
  1. คุณแม้ท้องที่ยังมีอาการแพ้ท้อง วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ไม่ควรขับรถเองเพราะหากเกิดปัญหาในระหว่างการขับขี่ จะเพิ่มโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุเป็นอันตรายต่อทั้งคุณแม่และบุตรในครรภ์ได้
  1. ไม่ควรขับรถเร็วเกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อว่าหากเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน จะได้สามารถหยุดรถได้ทันท่วงที ช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้
  1. ปรับเบาะนั่งให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ โดยห่างจากพวงมาลัย 10-12 นิ้ว อยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นเส้นทางชัดเจน ปรับพวงมาลัยสูงขึ้น เพื่อป้องกันหากเบรกกะทันหัน ท้องจะไม่กระแทกพวงมาลัย รวมทั้งแอร์แบ็กไม่กระแทกใส่ท้องคุณแม่ด้วย ทั้งนี้ต้องสามารถหมุนพวงมาลัย เท้าเหยียบเบรคและคันเร่งได้ถนัด
  1. คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่ขับรถ การคาดเข็มขัดนิรภัยที่เหมาะสำหรับคุณแม่ท้องควรคาดให้แนวทแยงของเข็มขัดคาดผ่านร่องอกไปตามแนวโค้งของท้อง ส่วนแนวนอนของเข็มขัดอยู่เหนือต้นขา และกระดูกเชิงกราน ห้ามคาดทับบริเวณหน้าท้องตำแหน่งของมดลูกโดยตรง
  1. ช่วงก่อนคลอดหรืออายุครรภ์ประมาณ 7-9 เดือน คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไกล เนื่องจากใกล้คลอดเต็มที ท้องที่มีขนาดใหญ่ทำให้ขับรถลำบาก นอกจากนี้หากเบรกกะทันหันท้องอาจกระแทกพวงมาลัย ทำให้รกลอกตัวก่อนกำหนดและเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้

ทั้งนี้ ก่อนเดินทาง ควรสำรวจความเรียบร้อยของยานพาหนะ ได้แก่ การเช็กลมยาง แบตเตอรี่ หม้อน้ำ น้ำมันเครื่องก่อนออกเดินทางทุกครั้ง ซึ่งหน้าที่นี้อาจขอความช่วยเหลือจากคุณพ่อให้เป็นผู้ดูแลค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *