“หัวใจพิการแต่กำเนิด” โรคสำคัญที่พบบ่อยในทารก

0

“โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด”

เป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดในวัยเด็ก พบถึงร้อยละ 70-80 ของโรคหัวใจในเด็กทั้งหมด พบในทารกเกิดใหม่มีชีวิตถึง 8 :1,000 ถ้าเด็กเกิดในประเทศไทยปีละ 1 ล้านคน จะมีเด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดถึงปีละ 8,000 คน

เรียกว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่อาจเกิดขึ้นกับเบบี๋ของเราได้นะคะ…

congenital-heart-disease-is-a-major-common-disease-in-infants

สาเหตุของโรคเสี่ยงของเบบี๋

เกิดจากความผิดปกติของขั้นตอนการสร้างหัวใจตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา โดยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค แต่สันนิษฐานว่าเกิดได้จากหลายสาเหตุปัจจัย เช่น เด็กมีความผิดปกติของพันธุกรรม, ขณะตั้งครรภ์มารดาป่วยด้วยโรคต่างๆ หรือได้รับยาบางชนิด หรือใช้สารเสพติด หรือได้รับรังสี รวมถึงการตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมาก หรืออาจมีสาเหตุจากครอบครัวมีประวัติโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

เด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนี้ ร้อยละ 84 ตรวจพบภายในอายุ 7 วัน ถ้าได้รับการตรวจโดยแพทย์หรือพยาบาล ในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ 50 ไม่มีอาการ ที่เหลือมีอาการเขียว หรือหัวใจวายร่วมด้วยอย่างละเท่าๆ กัน บางรายอาจเสียชีวิตโดยไม่ทราบว่าเป็นโรคหัวใจ เด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจำนวนหนึ่งไม่มีอาการ และตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติในสัปดาห์แรก

อาการต้องสงสัยที่บอกว่าเบบี๋อาจเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

  1. เหนื่อยง่ายกว่าเด็กปกติ ในทารกจะพบว่าต้องดูดนมใช้เวลานาน ดูดนมแล้วพักบ่อย ทำให้ดื่มนมได้น้อย
  2. อาการเขียว สังเกตได้จากลิ้น เยื่อบุตา ริมฝีปาก ปลายมือปลายเท้า จะเป็นสีคล้ำ
  3. ติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น เป็นหวัดหรือปอดบวมบ่อย
  4. การเจริญเติบโตต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
  5. หัวใจเต้นเร็วและแรงผิดปกติ
  6. หายใจเร็วและหายใจลำบาก
  7. หน้าอกผิดรูป ยุบหรือโป่งมากผิดปกติ นิ้วปุ้ม

หากทารกมีอาการเหล่านี้ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อให้เบบี๋ได้รับการตรวจเบื้องต้นโดยกุมารแพทย์ทั่วไปและตรวจยืนยันเพิ่มเติมเมื่อสงสัยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดโดยกุมารแพทย์โรคหัวใจอีกครั้ง

เนื่องจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีหลายชนิด การรักษาจึงขึ้นกับชนิดของโรคและอายุของผู้ป่วย ดังนั้นพ่อแม่ควรสอบถามข้อมูลการดูแลรักษาเพิ่มเติมกับกุมารแพทย์โรคหัวใจเพื่อให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *