สารพิษใกล้ตัวในที่ทำงานภัยสุขภาพที่คุณต้องระวัง!

0

“ห้องทำงาน” เป็นสถานที่ซึ่งหนุ่มสาวชาวออฟฟิศใช้เวลาอยู่ในแต่ละวันนานไม่แพ้ที่บ้านเลยก็ว่าได้แต่รู้หรือไม่ว่าสถานที่ซึ่งให้ความรู้สึกอบอุ่นประหนึ่งบ้านหลังที่สองนี้ อาจมีภัยเงียบที่ทำลายสุขภาพของคุณทีละนิดๆ กว่าจะรู้ตัวอีกที่ก็เจ็บไข้ได้ป่วยโดนโรครุมเร้าซะแล้ว

4 อันตรายจากสารพิษใกล้ตัวในที่ทำงาน พร้อมวิธีป้องกัน!

1. ฝุ่นละอองในสำนักงาน

อาจเกิดจากผงหมึกที่กระจายออกมาจากเครื่องถ่ายเอกสาร ฝุ่นเยื่อกระดาษที่อาจพบตามเอกสารต่างๆ บนโต๊ะทำงาน หรือกระดาษปิดผนังหรือวอลเปเปอร์ โดยฝุ่นเหล่านี้สามารถเข้าไปสะสมในปอดได้

Modern white meeting room with copyspace

สำหรับอาการเมื่อได้รับสารพิษ ได้แก่ ไอ จาม และระคายเคืองต่อตา จมูก และคันผิวหนัง หากได้รับบ่อยๆ อาจก่อให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือโรคหอบหืดวิธีป้องกัน ควรจัดวางโต๊ะทำงานไม่ให้หนาแน่น ทำความสะอาดห้อง และโต๊ะทำงานเป็นประจำ แบ่งโซนเครื่องถ่ายเอกสารหรือหนังสือให้ไกลจากคนทำงาน


 

2. เฟอร์นิเจอร์

ในเฟอร์นิเจอร์ไม้มักพบสารฟอร์มาลดีไฮด์ตกค้าง และสารเคลือบเงาเช่น โทลูอีน ไซลีน และ เอธิลเบนซิน รวมถึงสีที่มีสารตะกั่วเป็นส่วนประกอบหลุดลอกจากเฟอร์นิเจอร์ หรือผนังอาคารปะปนกับฝุ่นผงในอากาศเมื่อสูดดมเข้าไปบ่อยๆ ทำให้ระคายเคืองจมูกและลำคอ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ระคายเคืองต่อผิวหรือระบบทางเดินหายใจ

Office desk table with computer, supplies, flower and coffee cup

ส่วนสารตะกั่วจะก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ปวดท้องทำลายสมอง ไต ระบบการย่อยอาหารระบบการได้ยินจึงควรหมั่นทำความสะอาดห้องทำงาน จัดให้มีการระบายอากาศที่ดี


 

3. สารเคมีจากคอมพิวเตอร์

สารเคมีจากจอคอมพิวเตอร์อาจก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ โดยสารเคมีที่ชื่อ Triphenyl Phosphate ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในจอวิดีโอหรือปากกาเคมี

Blank picture frame on wooden table with books

สำหรับอาการเมื่อได้รับสารพิษ คือระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูกและตาวิธีป้องกันให้หมั่นทำความสะอาดห้องทำงานอยู่เสมอ และจัดให้มีการระบายอากาศที่ดี


 

4. อันตรายจากเครื่องถ่ายเอกสาร

สิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้เครื่องถ่ายเอกสาร ได้แก่ โอโซน และแสง UV จากหลอดไฟฟ้าพลังงานสูงของเครื่องซีร็อกซ์ การได้รับโอโซนมากๆ จะทำให้ระคายเคืองต่อตา จมูก คอ หายใจสั้น วิงเวียนปวดศีรษะ ล้า และสูญเสียการรับรู้กลิ่น ส่วนรังสี UV จากหลอดไฟฟ้าฯ จะทำให้มีอาการปวดศีรษะ แสบตา กระจกตาอักเสบ เกิดผื่นคันตามผิวหนัง

Man putting his head in copy machine in hallway

นอกจากนี้ผงหมึกในเครื่องยังเป็นสารเคมีอันตราย หากสูดเข้าไปอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ไอ จามเพื่อป้องกันอันตรายจากเครื่องถ่ายเอกสารควรปิดฝาครอบให้สนิท ติดตั้งพัดลมดูดอากาศในห้องถ่ายเอกสาร สวมถุงมือขณะเติมหรือเคลื่อนย้ายผงหมึก


 

รู้แบบนี้แล้วก็ขอให้หลีกเลี่ยงเท่าที่ทำได้กันด้วยนะคะ 🙂

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *