“บด” เม็ดยากินง่ายแต่อาจได้อันตรายเป็นของแถม

0

หลายคนคงเคยเจอปัญหาว่ายาเม็ดโตเกินไป จะเคี้ยวจะกลืนแต่ละทีก็แสนลำบาก ชวนให้พะอืดพะอมเป็นที่สุด อย่ากระนั้นเลย บดเม็ดยาให้ละเอียดเสียก่อนกินน่าจะสะดวก แต่หารู้ไม่ว่าความสะดวกเพียงชั่วครู่นั้นอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

เม็ดยาที่ผลิตออกมา ไม่ได้มีแค่ยาเม็ดธรรมดาเท่านั้น ยังมียาเม็ดเคลือบชนิดต่างๆ ที่มีจุดประสงค์เคลือบแตกต่างกันออกไป การบดยาเม็ดเพื่อให้ทานง่ายขึ้นอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะไปทำลายสารเคลือบเม็ดยาที่มีผลต่อการปล่อยยาในร่างกาย โดยจุดประสงค์ในการเคลือบเม็ดยา ได้แก่

1. เพื่อควบคุมการปลดปล่อยตัวยา

Cross section of apple with pills in place of seeds

เพราะยาบางชนิดมีระยะเวลาออกฤทธิ์สั้น เป็นเหตุให้ต้องกินยาถี่ๆ ถ้าวันหนึ่งกินยาหลายครั้ง การเอาสารบางอย่างมาเคลือบเม็ดยาไว้เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้ยาวขึ้น เนื่องจากระดับยาในเลือดสม่ำเสมอ ยาเม็ดชนิดนี้จะมีปริมาณ ยาต่อเม็ดมากกว่ายาเม็ดธรรมดาหลายเท่า

หากบดยาชนิดนี้จะทำให้เม็ดยาเสียการควบคุม ปริมาณยาที่มีก็จะปล่อยออกมาหมด ผู้ป่วยอาจได้รับยาในขนาดที่สูงเกินไป การสังเกตยาดังกล่าวมักมีชื่อลงท้ายด้วย mr, sr, cr, xr เป็นต้น

2. เพื่อป้องกันกรดในกระเพาะอาหาร

“บด” เม็ดยากินง่ายแต่อาจได้อันตรายเป็นของแถม (1)

ยาเหล่านี้จึงถูกเคลือบเพื่อป้องกันกรดในกระเพาะ และไปถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็กได้ หากบดยาเหล่านี้ เมื่อรับประทานเข้าไป ยาจะถูกทำลายตั้งแต่กระเพาะอาหาร และถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็กน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ได้แก่ ยาลดกรด เพราะยาบางชนิดมีโอกาสทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินอาหาร หากสัมผัสกับกระเพาะอาหารโดยตรง ยาประเภทนี้จึงถูกนำมาเคลือบ ซึ่งการบดยาเหล่านี้อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น ยาในกลุ่มแอสไพริน

ยาที่ไม่ควรบด ได้แก่ ทาม็อกซิเฟน ที่ใช้รักษามะเร็งเต้านม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีมีครรภ์ ในขณะที่ มอร์ฟีน ไม่ควรบดเพราะอาจทำให้ยาถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเร็วถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต ส่วน ไนเฟดิพีน ที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูงหากบดจะทำให้มึนงง ปวดศีรษะ เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้ ยาเม็ดยังมีสารเคลือบพิเศษที่ช่วยให้ยาถูกดูดซึมในเวลาที่นานขึ้น ผู้ป่วยจึงกินยาเพียงวันละ 1 เม็ด ไม่ต้องกินวันละหลายครั้ง หากยาถูกบดก็จะถูกดูดซึมเร็วกว่าที่ต้องการ

ฉะนั้นก่อนนำยาไปใช้ควรสอบถามวิธีใช้จากแพทย์อย่างละเอียด หากสงสัยอะไรที่นอกเหนือจากที่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ข้อความที่ระบุบนฉลากยาหรือเอกสารกำกับยาแล้ว ควรปรึกษาเภสัชกรให้แน่ใจก่อนว่ากระทำได้หรือไม่ เพื่อความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการใช้ยาสูงสุด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *