“กรดโฟลิค” จำเป็นแค่ไหน ร่างกายขาดได้หรือเปล่า??

0

กรดโฟลิค (Folic Acid)

เป็นวิตามินที่ถูกสังเคราะห์โดยมนุษย์ บางครั้งเราจะได้ยินคำว่า “วิตามิน-เอ็ม” หรือ “วิตามิน-บี 9”ขอให้เข้าใจว่าเป็นชื่อเดียวกับกรดโฟลิคเมื่อได้รับกรดโฟลิค ร่างกายจะเปลี่ยนโครงสร้างวิตามินนี้ให้กลายเป็นโฟเลตซึ่งเป็นวิตามินที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย

โฟลิคเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างสารพันธุกรรม RNA และ DNA ซึ่งมีผลต่อเนื่องไปถึงการแบ่งเซลล์ของร่างกายรวมถึงการเจริญเติบโตโดย เฉพาะอย่างยิ่งในเด็กทารก หญิงตั้งครรภ์ ทำงานร่วมกับ vitamin B12 ในการสร้างเม็ดเลือดแดง

folic-acid (2)

นอกจากนี้โฟลิคยังมีส่วนส่วนป้องกันมะเร็งบางชนิด โรคหัวใจ โรคอัมพฤติ และป้องกันเด็กพิการแต่กำเนิด โดยเฉพาะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ควรได้รับโฟลิคอย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง โฟลิคมีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดงและป้องกันโรคหรือภาวะโลหิตจาง ฉะนั้นโฟลิคเป็นสารอาหารสำคัญที่ร่างกายจะขาดไปไม่ได้

โฟลิคเป็นวิตามินที่ละลายน้ำมักจะพบในอาหารตามธรรมชาติโดยแหล่งที่พบกรดโฟลิคตามธรรมชาติ ได้แก่ ไข่แดง ตับ ผักใบเขียวเข้ม คะน้า กะหล่ำปลีปวยเล้ง ผักกาดหอม หน่อไม้ฝรั่ง บล็อกโคลี ถั่วลันเตา แครอท แคนตาลูป ฟักทอง เอพริคอตอะโวคาโด ถั่ว ผลไม้ตระกูลส้ม

folic-acid (1)

การปรุงอาหารที่ต้องใช้ความร้อนนานๆ จะทำให้กรดโฟลิคสลายได้ง่ายฉะนั้นควรกินแบบสดๆ หรือถ้าจะลวกก็ต้องทำด้วยความรวดเร็ว

กรดโฟลิคถูกดูดซึมได้ดีจากลำไส้เล็ก เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะจับตัวกับโปรตีนและถูกลำเลียงไปสะสมที่อวัยวะตับ จากนั้นจะถูกเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีอีกครั้งก่อนที่เลือดจะนำไป เลี้ยงที่อวัยวะต่างๆของร่างกาย กรดโฟลิคเป็นวิตามินที่ละลายได้ดีในน้ำ จึงไม่ค่อยพบปัญหาของการสะสมในร่างกายเพราะจะถูกขับออกมากับปัสสาวะถึงการกินกรดโฟลิคเสริมสามารถทำได้ แต่ไม่ควรเกิน 1 มิลลิกรัม/วัน เนื่องจากอาจทำให้เกิด ภาวะการขาดวิตามิน B12 ได้ เพราะกรดโฟลิคจะขัดขวางการดูดซึมวิตามิน B12

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *