Summer Diseases กับวิธีป้องกันตัวเองจากโรคในช่วงฤดูร้อนโดยกรมอนามัย

0

ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน มีอุณหภูมิสูงขึ้น และมีอากาศร้อนอย่างต่อเนื่องในช่วงกลางวัน ซึ่งความร้อนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกช่วงวัย ตั้งแต่การเจ็บป่วยเล็กน้อยจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ไม่อยากพลาดเจ็บไข้ได้ป่วยในช่วงหน้าร้อนก็ต้องรู้จักดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีนะคะ

ข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคจากความร้อนเพิ่มขึ้นจาก 98 ราย ในปี 2556 เป็น 2,457 ราย ในปี 2559 โดยเฉพาะเดือนเมษายนของทุกปี ซึ่งโรคที่เกิดจากความร้อนเรียงตามความรุนแรงจากน้อยไปมาก ได้แก่ ผื่นจากความร้อน บวมจากความร้อน ตะคริวจากความร้อน เป็นลมจากความร้อน เพลียแดด และรุนแรงที่สุด คือ โรคลมแดด ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง หากรักษาไม่ทัน

10 วิธีป้องกันตัวเองจากโรคในช่วงฤดูร้อนโดยกรมอนามัย

diseases-that-come-with-summer

  1. ติดตามสถานการณ์การเตือนภัยจากความร้อนอยู่เสมอ เพื่อป้องกันตนเอง
  2. หลีกเลี่ยงการทำงาน หรือทำกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานานในวันที่อากาศร้อน
  3. ควรอยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี หรือสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ
  4. ควรดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ โดยไม่ต้องรอให้กระหายน้ำ หรืออย่างน้อย 2 แก้วต่อชั่วโมง
  5. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน และเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง
  6. ควรสวมเสื้อผ้าสีอ่อน ไม่หนา น้ำหนักเบา ระบายความร้อนได้ดี สวมหมวกปีกกว้างหรือกางร่ม
  7. ทาครีมกันแดดหรือใช้โลชั่นกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไปทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน
  8. ควรลดเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงเวลา 11.00 – 15.00 น.
  9. ควรอาบน้ำหรือเช็ดตัวด้วยผ้าเย็นโดยเฉพาะบริเวณหลังคอใบหน้าหูและข้อพับต่างๆ
  10. ไม่ควรเปิดพัดลมจ่อตรงตัวในขณะที่อากาศร้อนจัด เพราะพัดลมจะดูดอากาศร้อนเข้ามาหาตัวเรา ควรตั้งพัดลมให้ห่างจากตัวหรือใช้พัดลมไอน้ำหรือให้นำอ่างใส่น้ำแข็งวางหน้าพัดลมจะช่วยให้อากาศเย็นลงได้

ทั้งนี้ สำหรับเด็กผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วย ไม่ควรทิ้งให้อยู่ในรถที่ปิดสนิท และจอดกลางแดดตามลำพังเป็นเวลานาน อาจทำให้เสียชีวิตได้ กลุ่มคนเหล่านี้เจ็บป่วยได้ง่าย ควรดูแลใส่ใจเป็นพิเศษค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *