เรียนรู้ตัวเองผ่าน “อารมณ์” เพื่อคุณภาพชีวิต

0

“อารมณ์” เป็นเรื่องที่เรารู้กันดีว่ามันคืออะไร แต่น้อยครั้งที่เราจะสามารถควบคุมมันได้ตามต้องการ และบางครั้งเจ้าอารมณ์ทั้งหลายก็ไหลออกมาโดยที่เราไม่ทันรู้ตัวด้วยซ้ำ ดังนั้น เรามาลองทำความรู้จักมันเพื่อรู้จักตัวเองมากขึ้น และใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพมาขึ้นกันดีกว่า

ศาสตราจารย์แดชเชอร์  เคลท์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา  อธิบายว่าแนวคิดอารมณ์หลักจากทฤษฎีอารมณ์พื้นฐาน (BASIC Emotions) ทั้ง 5 ประเภท ได้แก่ อารมณ์สุขใจ เศร้าใจ โกรธ กลัว และรังเกียจ ของ พอล เอกแมน ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงระดับโลกและติดอันดับ 1 ใน 100 ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดจากการจัดอันดับของนิตยสาร ไทม์ เมื่อปี ค. ศ 2009

นายแพทย์ธันวรุจน์  บูรณสุขสกุล จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็ก วัยรุ่นและครอบครัวประจำสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ อธิบายลักษณะอารมณ์ทั้ง 5และพฤติกรรมที่สังเกตได้ ดังนี้

1.สุขใจ (Joy)

learn-about-yourself-through-the-mood-for-quality-of-life (4)

เป็นอารมณ์บวกเกิดจากความรู้สึกพึงพอใจที่ได้ทำตามสิ่งที่ต้องการ เช่นได้กินอาหารที่ชอบได้ไปช็อปปิ้งซื้อสินค้าที่ชอบ หรือมีความรัก โดยมีปฎิกิริยาที่แสดงออกทางกาย คือ ยิ้มหน้าบาน รู้สึกสดชื่นมีพลัง กระโดดโลดเต้น

2.เศร้าใจ (Sadness)

learn-about-yourself-through-the-mood-for-quality-of-life (1)

เป็นอารมณ์ที่เกิดจากความรู้สึกผิดหวังกับตนเอง ซึ่งแสดงออกเป็นพฤติกรรม เช่นหดหู่ รู้สึกไร้ค่าสิ้นหวัง โดยมีปฎิกิริยาทางกาย เช่น หมดเรี่ยวแรงอ่อนล้าไม่อยากกินอาหาร ร้องไห้ เป็นต้น

3.โกรธ (Anger)

learn-about-yourself-through-the-mood-for-quality-of-life (5)

เป็นอารมณ์ที่เกิดจากความรู้สึกขัดใจไม่ได้ดั่งใจ ซึ่งแสดงออกเป็นพฤติกรรมเช่น พูดจาหยาบคาย ทำร้ายร่างกาย ทำลายข้าวของ โดยมีปฎิกิริยาทางกาย คือ หน้าแดง หายใจติดขัดเสียงดัง

4.กลัว (Fear)

learn-about-yourself-through-the-mood-for-quality-of-life (3)

เป็นอารมณ์ที่เกิดจากความรู้สึกว่าตนเองถูกคุกคามหรือสู้ไม่ได้ ซึ่งแสดงออกด้วยการถอยหนีไม่มองหน้า หลีกเลี่ยงการมีปฎิสัมพันธ์ เป็นต้น โดยมีปฎิกิริยาทางกาย คือ ตัวเกร็ง มือเย็น ใจสั่น

5.รังเกียจ (Disgust)

learn-about-yourself-through-the-mood-for-quality-of-life (2)

เป็นอารมณ์ที่เกิดจากความรู้สึกอึดอัดใจ แต่ไม่ใช่รู้สึกถูกคุกคาม เช่นการไม่ชอบกินผักเขียว ซึ่งแสดงออกเป็นพฤติกรรม เช่น เบือนหน้าหนีไม่มองหน้า ไม่พูดถึง รู้สึกพะอืดพะอม มวนท้อง

คุณหมอธันวรุจน์อธิบายสรุปว่า อารมณ์ทั้ง 5 มีทั้งบวกและลบ สามารถก่อให้เกิดความเครียดได้การเข้าใจและจัดการอารมณ์ให้อยู่ในสภาวะปกติจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะช่วยให้เราเข้าใจตนเองและผู้อื่นทำให้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขนั่นเอง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *