รู้ไว้ใช่ว่า… เช็คอัพร่างกายกันหน่อย “ตรวจสุขภาพ” เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

0

ปกติแล้วคนเราอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจสุขภาพ ต่อให้รู้สึกว่าตนเองยังอายุน้อยอยู่ก็มีสิทธิ์เป็นโรคไม่คาดคิดได้ และยิ่งอายุมากขึ้นยิ่งต้องดูแลมากเป็นพิเศษ เพราะการไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐจริง ๆ ทำงานเก็บเงินมากมาย หากไม่เคยเช็กอัพหรือเอะใจกับเรื่องสุขภาพเลย เงินที่หามาได้อาจจะหมดไปกับค่าหมอค่าห้องพักได้ในครั้งเดียว

ลองถามตัวเองดูสักครั้ง ถึงเวลาหรือยังที่จะหันกลับมาให้ของขวัญกับร่างกายนี้?

โปรแกรมตรวจสุขภาพมีมากมายให้เลือก บางโปรแกรมก็อาจจะยังไม่จำเป็นสำหรับบางคน ซึ่งสามารถเลือกเป็นกรณี ๆ ไป ตามขั้นอายุและพฤติกรรมเสี่ยงของแต่ละบุคคล เช่น ถ้าดื่มแอลกอฮอล์ก็ควรตรวจมะเร็งตับ หากกินยาเยอะก็ควรตรวจตับและไต เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อลดค่าใช้จ่าย แต่สำหรับ 5 โปรแกรมตรวจสุขภาพต่อไปนี้ ไม่ต้องคิดมากเลย ตรวจตั้งแต่วันนี้นี่แหละ!!

ความดันโลหิต

โดยปกติเวลาไปหาหมอทุกครั้ง พยาบาลจะวัดความดันโลหิตให้อยู่แล้ว แต่หากไม่ได้วัดก็ควรถามหา หรือเมื่อค่าแสดงว่าความดันผิดปกติ สูงหรือต่ำไปต้องคุยกับแพทย์อย่านิ่งนอนใจ เพราะความดันโลหิตสูงหรือต่ำเป็นสาเหตุของโรคร้ายถึงชีวิต และคนที่ดูภายนอกปกติดีทุกอย่าง อาจจะซ่อนภาวะความดันโลหิตสูงที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวและหัวใจโตขึ้น นอกจากนั้นยังทำให้หลอดเลือดหัวใจเสื่อมสภาพและเกิดการอุดตันทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด เจ็บหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวายได้ ในด้านสมองสามารถทำให้หลอดเลือดสมองตีบตันได้เช่นเดียวกับเส้นเลือดหัวใจ และอาจจะทำให้เส้นเลือดสมองแตกกลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

healthcheck (3)

นอกจากนี้ ยังส่งผลไปถึงไต จอประสาทตา และหลอดเลือดทั่วร่างกายด้วย ในขณะที่ความดันโลหิตต่ำอาจจะมีอาการชัดกว่า รู้สึกเวียนหัวเมื่อเปลี่ยนจากท่านอนมาเป็นยืนหรือนั่ง เหนื่อยง่าย อ่อนแรง หากความดันโลหิตต่ำมากจะทำให้การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญของร่างกายไม่ทัน โดยเฉพาะเซลล์สมอง กล้ามเนื้อหัวใจ และไต จนทำให้ขาดออกซิเจนและเป็นลมหรือช็อกได้

ตรวจเลือด

healthcheck (4)

เป็นโปรแกรมการตรวจสุขภาพพื้นฐานเพราะเลือดที่ถูกเจาะไปจะนำไปตรวจบอกโรคได้หลายอย่าง ตั้งแต่ โรคเลือดอย่างทาลัสซีเมีย ลูคีเมีย บอกสมรรถภาพของตับว่าเป็นตับอักเสบหรือไม่า ช่วยวินิจฉัยภาวะไตวาย บอกค่าคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน นอกจากนี้ ยังนำไปตรวจเลือดหัวใจอุดตัน นอกจากนี้  ยังนำไปตรวจแล็บพิเศาได้อีกหลายชนิดตามการพิจารณาของแพทย์ เช่น หากมีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน อาจต้องเจาะเลือดเพิ่มเพื่อหาค่าน้ำตาลในเลือด หรือตรวจหาปริมาณฮอร์โมนหากสงสัยว่าอาจะเป็นธัยรอยด์เป็นพิษ รวมทั้งหาโรคติดเชื้อทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสได้

ฟัน

ดังที่ทันตแพทย์แนะนำว่าควรตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 6 เดือน เพราะหลายโรคโดยเฉพาะโรคเหงือกอักเสบ เริ่มต้นโดยไม่มีอาการเด่นชัด เมื่อมีอาการผิดปกติชัดเจนแล้ว โรคมักลุกลามไปมาก การรักษาก็ยุ่งยากมากขึ้น นอกจากนี้ ช่วยให้เราพบว่ามีฟันผุหรือไม่ ถ้าอุดตั้งแต่เริ่มต้น ค่าใช้จ่ายก็น้อย

healthcheck (6)

และที่สำคัญ จะได้รับการขูดหินปูนเพื่อลดปริมาณการจับของคราบหินปูนกับตัวฟัน เพราะหากปล่อยให้หินปูนเกาะฟันแน่นขึ้นเรื่อย ๆ หินปูนจะลงไปเกาะที่รากฟัน ฟันโยก เสียวฟัน เกิดช่องว่างระหว่างฟันและเหงือก ทำความสะอาดยาก การรักษาก็ยากขึ้นและอาจสูญเสียฟันไป และการขูดหินปูนทุก ๆ 6 เดือนยังช่วยลดคราบอาหาร คราบสีจากชา กาแฟ ฯลฯ ที่ติดตามตัวฟัน ทำให้ฟันขาว สะอาดขึ้น ยิ้มเป็นประกายเสริมบุคลิกภาพดี

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

แม้มะเร็งปากมดลูกจะพบมากเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งเต้านม แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงที่อายุแค่ 18 ปี หากมีเพศสัมพันธ์แล้วและทั้งที่เป็นมะเร็งชนิดป้องกันได้ มีระยะก่อตัวเป็นมะเร็งนับแต่ติดเชื้อไวรัส HPV นานถึง 10-20 ปี แต่กลับมีผู้หญิงไทยเสียชีวิตจากโรคนี้เฉลี่ยวันละ 14 คน นั่นเป็นเพราะผู้หญิงกลุ่มเสี่ยงซึ่งได้แก่ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แล้วนั้น ไม่ได้รับการตรวจคัดกรองเป็นประจำนั่นเอง

healthcheck (1)

 

โดยสมาคมมะเร็งนรีเวชไทยแนะนำไว้ตรงกับหน่วยงานป้องกันโรคของสหรัฐฯ (U.S. Preventive Service Task Force หรือ USPSTF) ว่าผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้วควคตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร่วมกับการตรวจหาเชื้อ HPV ทุก 3-5 ปี หรือทุก 1-2 ปีหากมีความเสี่ยงสูง เช่น เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือคู่นอนมีพฤติกรรมนอกลู่นอกทางที่อาจนำเชื้อมาได้

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

healthcheck (5)

แพทย์อเมริกาแนะนำให้ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์เป็นประจำตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างซิฟิลิส หนองใน และหนองในเทียมทุกปี รวมทั้งตรวจหาเชื้อเอดส์ HIV อย่างน้อยหนึ่งครั้งโดยเฉพาะผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย ยิ่งมีความเสี่ยงสูง และอันตรายของโรคติดต่อกลุ่มนี้คือเป็นแล้วไม่ค่อยแสดงอาการ เมื่อไม่รู้ตัวว่าเป็น ก็มีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่นต่อได้ง่ายและยังเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกที่รุนแรงมากขึ้นด้วย

วิธีง่ายเว่อร์ ตรวจสุขภาพอย่างไรให้ได้ผล 

healthcheck (2)

เมื่อตั้งคำถามกับตัวเองจนได้คำตอบแล้วว่าเรามีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคอะไรบ้างก็ให้เลือกตรวจเฉพาะเรื่องนั้น ๆ รวมทั้งทำชีวิตให้เป็นปกติก่อนไปตรวจ การงดของหวานเพราะกลัวค่าน้ำตาลขึ้น งดอาหารมันเพราะเกรงว่าค่าคอเลสเตอรอลในเลือดจะสูง แต่หลังตรวจสุขภาพแล้วก็กลับมากินเหมือนเดิม ผลการตรวจสุขภาพก็ไม่ได้วัดการดูแลสุขภาพที่แท้จริงแต่อย่างใด

 

ที่มา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *