วัยทำงานต้องระวัง “โรคตึกป่วย” แบบนี้ก็มีด้วย!!

0

“อาคารป่วย” หรือ “ตึกป่วย” (Sick Building)

เป็นชื่อที่ใช้เรียกสถานการณ์ซึ่งผู้อาศัยในอาคารได้รับผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพและความสุขสบายโดยเกี่ยวเนื่องกับระยะเวลาที่อยู่ในอาคารนั้นๆ โรคอาคารป่วยเป็นภัยเงียบ ที่เกิดได้กับทุกคนโดยเฉพาะผู้อาศัยอยู่ในอาคารสูง ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดในอาคารที่เก่าแก่ แต่เกิดได้ในอาคารที่สร้างใหม่ หากมีการออกแบบหรือระบบการจัดการภายในที่ไม่ดีพอ

SBRIX (3)

ด้วยไลฟ์สไตล์ในยุคปัจจุบันทำให้คนวัยทำงานใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ภายในอาคาร ทั้งบ้าน ตึกสูงต่างๆ ทำให้เสี่ยงต่อปัญหาคุณภาพในอากาศ ทั้งที่เกิดจากโครงสร้างและดีไซน์ของอาคาร เกิดจากฝุ่นละอองจากเครื่องปรับอากาศที่ขาดการดูแล สารเคมีต่างๆ สารอินทรีย์ระเหยง่าย

เช่น ไซลีน โทลูอีน เบนซีน เป็นต้น ผงหมึกจากเครื่องถ่ายเอกสาร สีทาอาคารและวัสดุ สารถนอมรักษาไม้ สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้คุณภาพอากาศไม่ดี โดยเฉพาะหากไม่มีระบบถ่ายเทอากาศที่ดีพอ จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพวัยทำงานตามมา

SBRIX (1)

ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น เกี่ยวกับอาคารที่อยู่อาศัยนั้นอาจแบ่งออกได้เป็นความเจ็บป่วยที่สามารถระบุสาเหตุได้แน่นอนว่าเกี่ยวกับอาคารที่ผู้ป่วยอยู่อาศัย (Specific Building-Related Illness, SBRI) กับอาการป่วยที่ไม่สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจน (Sick Building Syndrome, SBS)

อาการที่พบจากโรคอาคารป่วย ได้แก่…

คัดจมูกน้ำมูกไหล ระคายเคืองตา ตาแดง น้ำตาไหล ไอ จาม แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ระคายคอ อ่อนล้า เมื่อยล้า ปวดศีรษะ ผิวแห้ง คัน เป็นผื่น มึนงง ขาดสมาธิในการทำงาน อาการป่วยดังกล่าวเป็นอาการที่ไม่มีลักษณะเฉพาะโรค โดยอาการเหล่านี้มักจะหายไปเมื่อออกนอกอาคาร

SBRIX (2)

โรคอาคารป่วยสามารถป้องกันได้ตั้งแต่การวางแผนก่อสร้างอาคารให้ได้มาตรฐาน จัดให้มีการออกแบบและระบบการระบายอากาศที่ดี

เช่น ติดตั้งพัดลมดูดอากาศ เพิ่มจำนวนหน้าต่างเพื่อให้อากาศหมุนเวียนสะดวก รักษาความสะอาดเพื่อลดฝุ่น เชื้อรา เครื่องปรับอากาศ ควรทำความสะอาดผ้าม่าน พรม ฯลฯ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง (หรือยิ่งบ่อยเท่าไหร่ก็ยิ่งดี) หากต้องทำงานเกี่ยวกับเครื่องถ่ายเอกสารควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสผงหมึกโดยตรง ควรสวมถุงมือขณะเติมหรือเคลื่อนย้ายผงหมึก รวมถึงใส่หน้ากากกันฝุ่นเคมี หรือหน้ากากอนามัยด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *