ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ ลดอันตรายจากหัวใจขาดเลือด

0

“โรคหัวใจ” (Heart disease)

หรือโรคที่เกิดกับหัวใจ ซึ่งมีได้หลายโรค เป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก หนึ่งในโรคหัวใจที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ คือ “ภาวะหัวใจขาดเลือด”

ที่น่ากลัวคือโรคนี้สามารถเกิดได้อย่างฉุกเฉินโดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า!!

“ภาวะหัวใจขาดเลือด” (Myocardial Infarction)

คือภาวะที่หัวใจได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่พอ อาจเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง แต่ที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบโดยสาเหตุของภาวะหัวใจขาดเลือดเกิดจากมีการตีบตันของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ มักเป็นผลจากผนังหลอดเลือดแข็งเนื่องจากมีไขมันเกาะ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความเสื่อมของร่างกายตามวัย รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่นภาวะไขมันในเลือดสูง, ขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น

risk-assessment-for-heart-disease-reduce-the-danger-of-heart-ischemia

เพื่อป้องกันความเสี่ยงของโรคหัวใจ โดยเฉพาะภาวะหัวใจขาดเลือดทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพปีละครั้งเพื่อทราบสถานะสุขภาพและความเสี่ยงสุขภาพ และผู้ที่ชื่นชอบการอกกำลังกาย ควรเข้ารับการประเมินความเสี่ยงประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ

จะได้วางแผนการออกกำลังกายให้เหมาะสม ลดอันตรายจากภาวะหัวใจขาดเลือด  ซึ่งโรคหัวใจจัดเป็นโรคฉุกเฉินอันตรายที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ข้อมูลในปี 2557 คนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด กว่า 58,000 คน

ผู้ที่มีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าคนอื่น ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง คนอ้วนหรือน้ำหนักเกิน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำแพทย์ ดูแลระดับน้ำตาล ความดันโลหิต ไขมันในเลือด ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เลิกสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  โดยเน้นเมนูที่ไม่หวาน ไม่มัน ไม่เค็มและควรออกกำลังกายเป็นประจำโดยเลือกชนิดที่เหมาะกับสมรรถภาพร่างกาย  ส่วนเรื่องความเครียดก็มีผลอย่างมาก ฉะนั้นควรพยายามให้จิตใจให้ผ่อนคลาย อย่าเคร่งเครียดกับการงานจนเกินไป

สัญญาณของโรคหัวใจ ได้แก่ เจ็บแน่นหน้าอกคล้ายถูกของหนักกดทับปวดร้าวไปที่ไหล่ แขนด้านซ้าย หายใจลำบาก หากมีอาการที่กล่าวมาให้รีบนั่งพัก พร้อมบอกผู้ที่อยู่ใกล้ชิดให้พาไปโรงพยาบาล

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *