ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) สาเหตุและอาการเป็นอย่างไร

0

เราเคยได้ยินกันมาว่า “ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ” เป็นภัยเงียบและเป็นอันตราย แต่จริงๆ แล้วโรคนี้มีสาเหตุมาจากอะไร และมีวิธีสังเกตอย่างไร มาหาคำตอบไปพร้อมกัน

obstructive-sleep-apnea

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คืออะไร

หรือ Obstructive Sleep Apnea (OSA) เป็นภาวะที่หยุดหายใจโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือไมรู้ตัวเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ระหว่างการนอนหลับ โดยปกติแล้วอากาศจะไหลอย่างราบรื่นจากปากและจมูกเข้าสู่ปอดตลอดเวลา ช่วงเวลาที่หยุดหายใจเรียกว่า “ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ” ใน OSA การไหลของอากาศตามปกติจะหยุดซ้ำ ๆ ตลอดทั้งคืน การไหลของอากาศหยุดลงเนื่องจากพื้นที่ทางเดินหายใจในบริเวณคอนั้นแคบเกินไป

ซึ่งการนอนกรนเป็นลักษณะของการหยุดหายใจขณะหลับ การนอนกรนเกิดจากการไหลเวียนของอากาศผ่านช่องทางเดินหายใจแคบ ๆ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับที่ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรง เช่น

  • ความดันสูง
  • โรคหัวใจ
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • โรคเบาหวาน

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาการเป็นอย่างไร

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นสาเหตุของการลดปริมาณออกซิเจนไปยังสมองและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย นับได้ว่าเป็นหนึ่งในอาการของคุณภาพการนอนหลับไม่ดีซึ่งทำให้เกิดอาการง่วงนอนตอนกลางวันและขาดความกระปรี้กระเปร่าในตอนเช้า ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจมีอาการดังนี้ครับ

  • อาการปวดหัวที่ยากต่อการรักษา
  • หงุดหงิดง่าย
  • ลืมง่าย
  • มีอาการง่วงนอนตลอดเวลา
  • สมาธิสั้น
  • อาจมีภาวะซึมเศร้า
  • ไม่มีสมาธิในการทำงาน หรือเรียน
  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • ขาบวม (เรียกว่าอาการบวมน้ำซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อหยุดหายใจขณะหลับรุนแรง)

ทั้งนี้ อาการง่วงนอนตอนกลางวันทำให้ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุทางยานยนต์และอุบัติเหตุทางอุตสาหกรรม (กรณีทำงานกับเครื่องจักร สิ่งก่อสร้าง เป็นต้น)

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มีสาเหตุมาจากอะไร

การหยุดหายใจขณะหลับมีหลายประเภท แต่ OSA เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด OSA มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุและผู้ที่มีน้ำหนักเกิน

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ รักษาได้หรือไม่

เป้าหมายในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับคือการทำให้แน่ใจว่าไม่มีการอุดตันของอากาศระหว่างการนอนหลับ วิธีการรักษารวมถึง:

  • การลดน้ำหนักช่วยลดอาการของ OSA ได้อย่างยอดเยี่ยม
  • การบำบัด
  • การผ่าตัด
  • ใช้เครื่องช่วยหายใจ

หากเพื่อนๆ พบว่าตัวเองทีอาการที่ใกล้เคียงควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจดูอาการและขอแนวทางการรักษาที่ได้ผลจริงและปลอดภัย ที่สำคัญต้องไม่ละเลยการตรวจสอบตัวเองเบื้องต้นด้วยเช่นเดียวกัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *