อ้วนนนนน… จน “ไขมันพอกตับ” เสี่ยงแค่ไหนถามใจคุณดู??

0

“ไขมันพอกตับ” (Fatty LiverDisease)

คือโรคที่มีไขมันเข้าไปอยู่ในเซลล์ตับเกินปกติ คือ ประมาณร้อยละ 5-10 ของตับโดยน้ำหนัก โดยทั่วไปมักเป็นไขมันชนิด ไตรกลีเซรายด์ไขมันในเลือด)

ที่น่ากลัวก็คือ “ไขมันพอกตับ”พบได้ถึงประมาณร้อยละ 75 ในคนเป็นโรคอ้วน รวมถึงผู้ที่มีรูปร่างอ้วน ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้มีไขมันในเลือดสูงผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำและมักเป็นโรคที่เป็นสาเหตุให้มีการทำงานผิดปกติของตับ

ไขมันพอกตับ (1)

ไขมันพอกตับ” เกิดจากการสังเคราะห์ไขมันในตับผิดปกติ ทำให้ไขมันโดยเฉพาะไตรกลีเซอไรด์ที่แทรกอยู่ในเซลล์ตับมีน้ำหนักเกินร้อยละ 5 ของตับ ส่งผลให้ตับทำงานผิดปกติ เกิดภาวะตับอักเสบและอาจพัฒนาเป็นตับแข็งได้ในที่สุดโรคนี้มักไม่ทำให้เกิดการเจ็บปวด แต่บางครั้งจะบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ

ปัจจัยเสี่ยงของ “ไขมันพอกตับ” ได้แก่…

  • โรคอ้วน

  • น้ำหนักตัวมากเกิน

ไขมันพอกตับ (2)

  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มาก
  • รับประทานอาหารที่มีรสหวานมากเกินไป
  • รับประทานอาหารให้พลังงานสูงเป็นประจำ รวมทั้งไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต
  • ภาวะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือภาวะทุพโภชนาการ (เช่น มีโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง)
  • การลดน้ำหนักอย่างหักโหม
  • เป็นผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
  • การติดเชื้อต่างๆ (เช่น เชื้อเอชไอวี และไวรัสตับอักเสบซี)

ความรุนแรงของโรคไขมันพอกตับแบ่งเป็น 4 ระยะ

ระยะแรก : เป็นระยะมีไขมันก่อตัวอยู่ในเนื้อตับ ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดผลใดๆ

ระยะที่สอง : เริ่มมีอาการอักเสบของตับ ในระยะนี้หากปล่อยให้การอักเสบดำเนินไปเรื่อยๆ เกินกว่า 6 เดือนอาจกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง

ระยะที่สาม : การอักเสบรุนแรง ก่อให้เกิดพังผืดในตับ เซลล์ตับค่อยๆ ถูกทำลายลง

ระยะที่สี่ : เซลล์ตับถูกทำลายไปมาก ตับทำงานไม่ได้ตามปกติอีกต่อไป ตับแข็ง และอาจกลายเป็นมะเร็งตับ

ในระยะแรกๆของโรค มักไม่แสดงอาการให้รู้สึก มีบ้างที่อาจมีอาการ อ่อนเพลีย คลื่นไส้เล็กน้อย รู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงขวา (ซึ่งก็เป็นอาการของหลายๆ โรค) โดยส่วนใหญ่การตรวจพบโรคไขมันพอกตับจึงมักพบเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการเจาะเลือดตรวจสุขภาพประจำปีหรือตรวจทางการแพทย์ด้วยเหตุผลอื่นๆ ฉะนั้นควรป้องกันตัวเองโดยลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค

ที่สำคัญหมั่นสังเกตุอาการต่างๆ ของร่างกาย แม้เพียงเล็กน้อยก็ควรไปพบแพทย์ รวมถึงตรวจสุขภาพประจำทุกปีไม่ให้ขาดหรือทิ้งช่วงนานเกินไป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *