“มาลาเรีย” โรคระบาดที่เป็นปัญหาระดับชาติ

0

ปัญหาสุขภาพของคนในประเทศถือเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ โดยหนึ่งในการตั้งเป้าหมายเพื่อลดโรคและภัยสุขภาพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ก็คือ ภายในปี 2567 ทุกอำเภอของประเทศปลอดจากมาลาเรีย คำถามที่ตามมาก็คือ “โรคมาลาเรีย” อันตรายแค่ไหน ทำไมถึงกลายเป็นปัญหาระดับประเทศ ว่าแล้วเราก็ไปทำความรู้จักโรคนี้กันดีกว่า..

โรคมาลาเรีย (Malaria)

malaria (2)

หรือไข้มาลาเรีย (รวมถึงรู้จักในชื่ออื่นๆ เช่น ไข้ป่า ไข้จับสั่น ไข้ป้าง ไข้ร้อนเย็น หรือไข้ดอกสัก) เป็นโรคติดต่อ มียุงก้นปล่องเป็นพาหะเกิดจากเชื้อ Plasmodium ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียวอยู่ใน class Sporozoaมีวงจรของเชื้อระยะต่างๆ สลับกันคือ ระยะมีเพศและไม่มีเพศ และมีวงจรชีวิตอยู่ทั้งในสัตว์มีกระดูกสันหลังและยุง โดยโรคนี้มียารักษาและมียาสำหรับป้องกัน

อาการของโรคมาลาเรียนั้นโดยมากจะมีอาการนำคล้ายกับเป็นหวัด คือ…

มีไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ ปวดตามตัวและกล้ามเนื้อ อาจคลื่นไส้ เบื่ออาหาร อาการนี้จะเป็นเพียงระยะสั้น เป็นวัน หรือหลายวันก็ได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่นระยะเวลาการฟักตัวของเชื้อ ชนิดของเชื้อ ฯลฯ

malaria (1)

สำหรับอาการจับไข้ ซึ่งเป็นอาการที่เด่นชัดของมาลาเรียประกอบด้วย 3 ระยะคือ ระยะสั่น ระยะร้อน และระยะเหงื่อออก ปัจจุบันจะพบลักษณะทั้ง 3 ระยะได้น้อยมาก ผู้ป่วยจะมีไข้สูงลอยตลอดเวลา เนื่องจากในระยะแรกๆ ของการติดเชื้อมาลาเรีย เชื้ออาจเจริญถึงระยะแก่ไม่พร้อมกัน (อาจเป็นผลมาจากได้รับเชื้อในเวลาต่างกัน ทำให้เกิดมีเชื้อหลายระยะ) ดังนั้นการแตกของเม็ดเลือดแดงจึงไม่พร้อมกัน ทำให้ผู้ป่วยมาลาเรียในระยะแรกอาจมีไข้สูงตลอดวันได้ แต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่งแล้วการแตกของเม็ดเลือดแดงพร้อมกัน ผู้ป่วยจึงจับไข้หนาวสั่นเป็นเวลา

การป้องกันตนเองเพื่อไม่ให้ติดเชื้อมาลาเรีย ทำได้โดยการระมัดระวังไม่ให้ถูกยุงกัด เช่น

  • สวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายให้มิดชิด
  • นอนในมุ้งหรือในห้องที่มีมุ้งลวด
  • ทายากันยุง
  • ทำลายแหล่งแพร่พันธุ์ยุง ฯลฯ

นอกจากนี้ หากกลับออกมาจากแหล่งระบาดหรือในพื้นที่มีผู้ติดเชื้อมาลาเรีย เกิดมีอาการไข้  ปวดศีรษะ ห้ามซื้อยารับประทานเอง ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจติดเชื้อมาลาเรีย ควรไปพบแพทย์เพื่อรับรักษาอย่างถูกวิธี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *