โรคหัวใจคร่าชีวิตคนไทยเฉลี่ย 150 คน/วัน ทำอย่างไรให้โรคนี้ไกลตัว!

0

สถิติผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 150 ต่อวัน ซึ่งมีสาเหตุหลักๆ จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตสุ่มเสียง หรือจากพันธุกรรม แต่ทุกปัญหาหัวใจมีทางออกเสมอ

นายแพทย์ ทวนทศพร สุวรรณจูฑะ ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2 กล่าวถึง สถานการณ์โรคหัวใจในปัจจุบันว่า

สถิติการเสียด้วยชีวิตโรคหัวใจ และหลอดเลือดของคนไทยใน ปัจจุบันเฉลี่ยที่ 150 คนต่อวัน หรือปีละ 54,530 คน สถิติผู้เสียชีวิต ทั่วโลกอยู่ที่ 17.7 ล้านคนต่อปี และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับแรก ๆ ของคนไทย รองจากมะเร็ง และอุบัติเหตุ

heart_disease_in_thai

สาเหตุของโรคหัวใจที่คนไทยเป็นมากที่สุด คือ หลอดเลือดหัวใจตีบ โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงโรคหัวใจมักหมายถึงโรคนี้ เกิดจากการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดหัวใจ และการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน หลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย จึงทำให้มีอัตราเสียชีวิตสูง และต้องการ การรักษาอย่างเร่งด่วนเฉียบพลัน

โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคของผู้ใหญ่ตั้งแต่วัยหนุ่มสาวไปจนถึงในผู้สูงอายุ โดยพบได้สูงตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป ในช่วงวัยเจริญพันธุ์พบโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ชายได้สูงกว่าในผู้หญิง แต่หลังจากวัยหมด ประจำเดือนถาวรแล้ว ทั้งผู้หญิง และผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ใกล้เคียงกัน

กินอยู่อย่างไรให้ใจแข็งแรง

นายแพทย์ ทวนทศพร กล่าวถึง วิธีดูแลป้องกันก่อนป่วย ว่า “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบนี้ มักไม่แสดงอาการเมื่อเริ่มเป็นโรค หรือเมื่อหลอดเลือดยังตีบไม่มาก ฉะนั้นวิธีป้องกันและดูแลหัวใจ ที่ดีที่สุดคือ ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เรื่องอาหาร การออกกำลังกาย และจัดการความเครียด   จำกัดอาหารไขมัน กินอาหาร มีประโยชน์ ควบคุมน้ำหนัก ควบคุมโรคต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันอุดตันในเส้นเลือด และควรตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุ 18 ปี ขึ้นไป”

แต่ถ้าใจอ่อนแอแล้วทำอย่างไร

แน่นอนว่าการปรับวิถีการใช้ชีวิต ยังเป็นเรื่องสำคัญ แต่ต้องระมัดระวังเรื่องการออกกำลังกายที่ต้องเป็นไปตามสุขภาพร่างกาย กินยาตามแพทย์สั่งสม่ำเสมอ เช่น ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาลดไขมันในเลือด แพทย์อาจวินิจฉัยการขยายหลอดเลือดด้วยเทคนิค ต่าง ๆ และอาจเป็นการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ พบแพทย์ตรงตามนัดเสมอ และรีบพบแพทย์ก่อนนัด เมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม

ที่สำคัญพบแพทย์ หรือไปโรงพยาบาลเป็นการฉุกเฉิน เมื่อเจ็บแน่นหน้าอกมาก อาจเจ็บร้าว ขึ้นขากรรไกร ไปยังหัวไหล่หรือแขน เหนื่อย หายใจขัด ชีพจรเต้นอ่อน เต้นเร็ว เหงื่อออกมาก วิงเวียนจะเป็นลม หยุดหายใจ หรือโคม่า

โรคลิ้นหัวใจเออร์ติกส์ตีบ และ นวัตกรรม TAVI เปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมด้วยสายสวน ลดความเสี่ยงการผ่าตัด

hybrid-or

รศ.นพ. กิตติชัย เหลืองทวีบุญ ผู้อำนวยการศูนย์ศัลยศาสตร์หลอดเลือดและทรวงอก โรงพยาบาลพญาไท 2 ให้ข้อมูลเรื่อง โรคลิ้นหัวใจเออร์ติกส์ตีบว่า เป็นโรคทางหัวใจที่ทำให้ลิ้นหัวใจเออร์ติกเปิดได้ไม่เต็มที่ ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักกว่าปกติ เพื่อให้สูบฉีดเลือดออกไป เลี้ยงทั่วร่างกายได้เท่าเดิม อาจเกิดภาวะ หัวใจล้มเหลว และอาจเสียชีวิตตามมาได้ หากไม่ได้รับ การรักษา

“ปัจจุบันช่วงอายุของผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจตีบที่พบอยู่ในช่วงวัยกลางคนถึงวัยสูงอายุ เนื่องจากมาจาก พฤติกรรมการใช้ชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิม ทั้งเรื่องของอาหาร อารมณ์ ความเครียด ในขณะเดียวกัน คนไข้อายุมากมักมีโรคร่วมต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ไตวาย อัมพาต เบาหวานทำให้ความยุ่งยาก ในการรักษาโรคหัวใจมากขึ้น และอันตรายจากโรคนี้ก็สูงขึ้นด้วย”

hybrid1

img_1476

“การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมทางสายสวน หรือ TAVI เป็นนวัตกรรมทางเลือกนอกเหนือจากการผ่าตัดเปิดช่องอก ใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะการตีบรุนแรงของลิ้นหัวใจเออร์ติกส์ ส่วนใหญ่การตีบมักเกิด จากความเสื่อม ของลิ้นหัวใจที่มักเกิดในผู้ป่วยสูงอายุ หรือมีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วยหลายโรค ทำให้สภาพ ร่างกายไม่สามารถทนต่อการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องดมยาสลบ และการใช้เครื่องปอดและ หัวใจเทียมระหว่าง ผ่าตัดได้ วิธีการนี้จะช่วยต่อชีวิตผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ให้ยืนยาว และมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น” รศ.นพ. กิตติชัย กล่าวเสริม

4 สัญญาน เสี่ยงโรคหัวใจควรปรึกษาแพทย์

  1. เหนื่อยง่ายเมื่อออกแรงหรือออกกำลัง
  2. เจ็บแน่นหน้าอกเมื่อใช้กำลังเพิ่มขึ้น หรือเมื่อมีความเครียด ในผู้หญิงมักไม่ค่อยพบมีอาการนี้ อาการอาจร้าวไปที่ขากรรไกร ไหล่ และ/หรือ แขนด้านใดก็ได้ แต่มักเป็นด้านซ้าย
  3. อาการของโรคหัวใจล้มเหลว (หัวใจวาย) เช่น เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว บวมหน้าแขน/ขา
  4. มีความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง

โรงพยาบาลพญาไท 2 จัดทำคู่มือ “รู้ทันความจริง เลี่ยงโรคหัวใจ” ในฉบับออนไลน์ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://www.phyathai.com/page.php?id=99 สามารถนัดรับคำปรึกษาจากทีมแพทย์ศูนย์หัวใจ รพ.พญาไท 2 (สนามเป้า) โทร. 02-617-2444 /Call Center 1772 และ FaceBook Page : Phyathai2 Hospital #อย่าปล่อยให้ป่วย #อย่าปล่อยให้ใจอ่อนแอ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *