G6PD “โรคแพ้ถั่วปากอ้า” กับข้อควรระวังถ้าไม่อยากอาการหนัก!!

0

G6PD

ชื่อย่อเท่ๆ แบบนี้ แต่ความจริงไม่เท่เลยนะ เพราะมันคือโรคที่หลายคนรู้จักในชื่อ “โรคแพ้ถั่วปากอ้า” (Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase deficiency)

G6PD (1)

เป็นภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ที่พบบ่อยในมนุษย์ผู้ที่ขาดเอนไซม์นี้อาจมีอาการโลหิตจางเฉียบพลัน บางคนอาจมีอาการมากจนไตวายหรือเสียชีวิต โรคนี้มีการถ่ายทอดจากพันธุกรรม พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

G6PD เป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในเซลล์ทั่วไปของร่างกาย รวมทั้งเม็ดเลือดแดง การทำงานของเอนไซม์ G6PDมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงานแก่ร่างกายและมีความสำคัญต่อกระบวนการกำจัดอนุมูลอิสระที่จะมาทำลายเม็ดเลือดแดงถ้าร่างกายขาดเอนไซม์ชนิดนี้ เมื่อถูกกระตุ้นด้วยของแสลง โดยเฉพาะการทานยาบางชนิด หรือทานถั่วปากอ้า จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกตัวง่าย

เมื่อมีการติดเชื้อหรือได้รับยาหรือของแสลง หรือหลังจากที่กินถั่วปากอ้า ที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ผู้ป่วยโรค G6PD จะมีอาการ ได้แก่ ปวดท้อง อาเจียน มีไข้สูง หนาวสั่น ซีดเหลือง เหนื่อย อ่อนเพลีย ปัสสาวะสีดำคล้ำคล้ายน้ำปลาหรือโคล่า (ไม่พบทุกรายของผู้ป่วยภาวะนี้)

G6PD (2)

อาการมักจะเกิดขึ้นทันทีหลังเป็นโรคติดเชื้อ มีอาการเป็นๆ หายๆ ได้บ่อยการแตกของเม็ดเลือดแดงทำให้สารโพแทสเซียมซึ่งอยู่ในเม็ดเลือดแดงเข้าไปอยู่ในกระแสเลือดมาก เมื่อสารนี้สูงมากเกินไปอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้

ฉะนั้นผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD จึงควรหลีกเลี่ยงยาหรือของแสลงที่ส่งเสริมให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายเพราะอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ของแสลงที่ว่าก็เช่น ถั่วปากอ้า, พืชตระกูลถั่ว, ไวน์แดง, โทนิค,โซดาขิง, การบูร, ลูกเหม็น อีกเรื่องสำคัญที่ควรระลึกไว้ก็คือ ผู้ป่วย G6PDไม่สามารถบริจาคเลือดได้

ทั้งนี้ทั้งนั้นหากรู้ว่ามีภาวะขาดเอนไซม์ G6PD และระวังไม่ให้สัมผัสกับปัจจัยที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย โรคนี้ก็ไม่ได้น่ากลัวจนเกินรับไหวผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติ เพียงแต่ต้องระมัดระวังและรอบคอบในการกินและการใช้ยา ถ้าเกิดมีภาวะเม็ดเลือดแดงแตกต้องดื่มน้ำมากๆ แล้วรีบไปพบแพทย์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *