สำรวจคนใกล้ตัวด้วย 9 สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า

0

“โรคซึมเศร้า”เป็นโรคทางจิตเวชที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจไปจนถึงร่างกาย เช่นนอนหลับๆ ตื่นๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก หมดความสนใจต่อโลกภายนอก ไม่คิดอยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป เหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะหนีจากความทรมานทางจิตใจด้วยการ “ฆ่าตัวตาย”

“ภาวะซึมเศร้า”

เกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง และส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคดังกล่าว คือ กลุ่มผู้มีโรคประจำตัว กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ติดสุรา สารเสพติด กลุ่มผู้สูญเสียบุคคลที่รัก หรือของที่รัก โดยการที่ผู้หญิงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชายนั้นสันนิษฐานว่าเป็นเพราะฮอร์โมนเพศมีความแตกต่างกัน ระบบสารสื่อประสาทและอาการมีความแตกต่างกัน ประกอบกับผู้หญิงส่วนใหญ่มีความเครียดทั้งการทำงาน การดูแลลูก ดูแลครอบครัวมากกว่าผู้ชาย

explore-people-near-you-9-depression-warning-signs

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการว่า ประชากรมากกว่า 300 ล้านคน หรือร้อยละ 4 เป็นโรคซึมเศร้า และเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงถึงร้อยละ 20.4 โดยผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลุ่มวัยรุ่น อายุ 15 – 19 ปี เสี่ยงฆ่าตัวตายสูงกว่ากลุ่มผู้สูงอายุ สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้ 1.5 ล้านคน หรือร้อยละ 2.5 ของประชากรไทย และยังพบว่าผู้หญิงเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชายถึง 1.7 เท่า

สัญญาณบอกเหตุของโรคซึมเศร้า

โดย นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

  1. ซึมเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว
  2. ขาดความสนใจสิ่งรอบข้าง
  3. ไม่มีสมาธิ
  4. อ่อนเพลีย
  5. เชื่องช้า
  6. รับประทานอาหารมากขึ้น หรือน้อยลง
  7. นอนมากขึ้น หรือน้อยลง
  8. ตำหนิตัวเอง
  9. พยายามฆ่าตัวตาย

หากพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการเหล่านี้ 5 ข้อติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ ให้สงสัยว่า อาจเป็นโรคซึมเศร้า

แนวทางการแก้ปัญหาโรคซึมเศร้านั้น ความเข้าใจของคนรอบข้าง ครอบครัวและสังคมเป็นสิ่งสำคัญ หากทุกฝ่ายให้ความสำคัญและร่วมมือกันก็จะช่วยลดปัญหาอันเกิดจากโรคดังกล่าวลงได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *