ว่าด้วยเรื่องการกินยากับผู้ป่วย “เบาหวาน-ความดัน”

0

โรคเบาหวาน” และ “โรคความดันโลหิตสูง” ถือเป็นโรคยอดฮิตที่มีผู้ป่วยจำนวนมากในบ้านเราทีเดียว และเพราะมีผู้ป่วยมากมายในหลากหลายพื้นที่

การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคดังกล่าวอาจยังไม่ส่งถึงผู้ป่วยทั้งหมด นำไปสู่ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการดูแลตัวเองของผู้ป่วย ที่นอกจากจะไม่ช่วยบรรเทาอาการของโรคให้ดีขึ้นแล้ว ยังนำไปสู่การเกิดโรคอื่นๆ เพิ่มเติมได้อีก

Various pills and capsules in container

“โรคเบาหวาน”

เกิดจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อย หรือไม่ได้เลย ฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่คอยช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่พอ น้ำตาลก็ไม่ถูกนำไปใช้ ทำให้เกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่างๆ เมื่อน้ำตาลคั่งในเลือดมากๆ ก็จะถูกไตกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวานหรือมีมดขึ้นได้ จึงเรียกว่า “เบาหวาน” นั่นเอง


 

“โรคความดันโลหิตสูง”

ภาวะมีความดันโลหิต วัดได้สูงตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตร –ปรอท ขึ้นไป (ความดันโลหิตปกติ คือ 90-119/60-79 มม.ปรอท) สำหรับสาเหตุของโรคนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าน่าเกิดจากหลายๆปัจจัยร่วมกันเริ่มแรกนั้นมักจะไม่มีอาการแสดงให้รู้ แต่จะมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เมื่อปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมามากมาย


 

พฤติกรรมการกินยาของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่พบมากที่สุดทั้งในเขตเมือง และชนบท โดยผู้ป่วยบางคนไม่กล้ากินยารักษาตามที่แพทย์สั่ง เพราะยามีหลายเม็ดต้องกินทุกวัน กลัวว่า กินไปนาน ๆ จะเป็นโรคไตวายเร็ว กลัวตับแข็ง บางคนหยุดยาเอง เพราะเห็นว่าอาการปกติดี จะกินเมื่อเริ่มมีอาการผิดปกติ เช่น รู้สึกมึนศีรษะ เป็นต้น

ทั้ง 2 โรคนี้ เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่สามารถควบคุมอาการให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ โดยผู้ป่วยต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด 3 เรื่องหลัก ได้แก่ กินยาต่อเนื่องตามการรักษาของแพทย์ ออกกำลังกาย และควบคุมอาหาร ผลของการกินยาต่อเนื่องจะป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน ที่สำคัญ คือ โรคไตวาย โรคหัวใจ ได้

และในทางตรงกันข้าม หากไม่กินยา ผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมอาการได้ และจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่กล่าวมาได้เร็วขึ้น ส่งผลให้การดูแลยุ่งยากขึ้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *