“ชักตัวอ่อน” อาการแบบไหนที่เข้าข่าย??

0

“ชักตัวอ่อน (Atonic seizure/ Drop seizure)

การชักหรือลมชักชนิดทั้งตัวรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะสำคัญ คือ การสูญเสียการตึงตัวของกล้ามเนื้อหรือกำลังของกล้ามเนื้ออย่างทันที และขาดสติทุกครั้งที่เกิดชัก ระยะเวลาในการชักแต่ละครั้งนานไม่เกิน 15 วินาที ถ้านั่งอยู่ศีรษะ ก็กระแทกพื้นโต๊ะ ถ้ายืนก็ล้มลงกับพื้นทันที โดยอาจมีอาการสะดุ้งอย่างแรงก่อนแล้วจึงล้มลงทันที

สาเหตุพบบ่อยของการชักตัวอ่อนคือ กลุ่มอาการชักแบบ Lennox Gastaut syndrome คือ มักเป็นจากความผิดปกติทางสมองของเด็กตั้งแต่เกิด แต่บางครั้งแพทย์หาสาเหตุไม่พบ โดยการชักตัวอ่อนเป็นการชักที่อันตราย เพราะเกิดการล้มลงทันทีไม่รู้สึกตัว ศีรษะจึงกระแทกพื้นและก่อเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

atonic-seizure

อาการผิดปกติสาเหตุอื่นที่คล้ายลมชักตัวอ่อนคือ การล้มลงจากสาเหตุอื่นๆเช่น หมดสติจากหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง การยืนหลับ ภาวะปวกเปียก (Cataplexy, กล้ามเนื้ออ่อนแรงเมื่อถูกกระตุ้นด้วยอารมณ์รุนแรง จากการขาดสมดุลของสารในสมองบางชนิดขณะเกิดอารมณ์นั้นเช่น หัวเราะรุนแรง โดยจัดอยู่ในอาการกลุ่มหนึ่งของโรคลมหลับ) หรือ โรคลมหลับ(Narcolepsy)

เนื่องจากอาการชักตัวอ่อนที่เกิดขึ้นจะเกิดทันที จึงเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้น ต้องระมัดระวังในการทำกิจกรรมที่เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

เช่น การขับรถ อยู่ใกล้แหล่งน้ำ อาบน้ำในอ่าง ว่ายน้ำ อยู่ในที่สูง ทำงานกับเครื่องจักรกล กับของมีคม ทำกับข้าวกับเตาแก๊สปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันลมชักตัวอ่อน ดังนั้นผู้ปกครอง ควรสังเกตบุตรหลานหรือคนใกล้ตัว เมื่อพบอาการคล้ายชักตัวอ่อนหรือสงสัย ควรรีบพาไปพบแพทย์เพราะการรักษาแต่เนิ่นๆจะช่วยให้ได้ผลการรักษาที่ดีขึ้น

ทั้งนี้เมื่อเป็นโรคลมชักตัวอ่อน จึงควรดูแลตนเองโดยการปฏิบัติตามแพทย์พยาบาลแนะนำอย่างเคร่งครัด, กินยากันชักที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วนถูกต้อง ไม่ขาดยา ไม่หยุดยาเอง, กินอาหารตามแพทย์พยาบาลโภชนากรแนะนำ, งดสูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีผลต่อการทำงานของสมอง, เลือกประเภทงานและการดำรงชีวิตที่ไม่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุรุนแรงเช่น ไม่ขับขี่ยวดยาน และที่สำคัญหมั่นพบแพทย์ตามนัดเสมอ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *