“สะโพกหัก” ภาวะสุดเสี่ยงของผู้สูงอายุที่ต้องรีบรักษา

0

ผู้สูงอายุเป็นวัยแห่งความเสื่อมถอยของร่างกาย ฉะนั้นจึงต้องใส่ใจเรื่องสุขภาพมากเป็นพิเศษ โดยหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่มักพบในวัยนี้ คือ ภาวะกระดูกหัก ซึ่งปัญหากระดูกหักในผู้สูงอายุ หลักๆมีอยู่ 3 ที่ คือ ข้อมือ สันหลังและสะโพกโดยเราขอโฟกัสไปที่ส่วนสะโพก เนื่องจากมีผลกระทบต่อสุขภาพค่อนข้างรุนแรง

กระดูกสะโพกหักหมายถึงการหักของกระดูกต้นขาที่อยู่บริเวณสะโพกและโคนขาหนีบ เนื่องจากการหกล้ม สะโพกกระแทก โดยมักเกิดในผู้ป่วยที่มีปัญหากระดูกบางหรือกระดูกพรุน

นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่…

  • อายุ ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีโอกาสเกิดกระดูกสะโพกหักมากขึ้น
  • เพศ พบกระดูกสะโพกหักในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนสูงกว่าในผู้ชาย
  • มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น เบาหวาน เพราะส่งผลให้เกิดกระดูกพรุนได้ง่าย
  • การขาดอาหาร
  • ไม่ได้ออกกำลังกา
  • สูบบุหรี่
  • ดื่มสุรา รวมถึงการใช้ยาบางชนิดอย่างต่อเนื่อง เช่น ยาสเตียรอยด์เหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดกระดูกพรุนได้ง่าย

ผู้สูงอายุเมื่อหกล้ม แม้ไม่รุนแรง หากไม่สามารถลงน้ำหนักบนขาข้างที่ได้รับบาดเจ็บ หรือขยับขาแล้วปวดสะโพกหรือโคนขาหนีบ ให้สงสัยไว้ได้เลยว่าอาจมีสะโพกหักจากนั้นให้เริ่มต้นด้วยการค่อยๆจับบริเวณข้อเท้าแล้วค่อยๆโยกขาไปมาเบาๆ ถ้าเจ็บห้ามทำต่อ ให้ตามรถพยาบาลมารับที่บ้านได้เลย ในกรณีที่ต้องนำส่งโรงพยาบาลเอง ให้หาแผ่นกระดานสอดใต้แผ่นหลังและขา พันธนาการให้สะโพกและขาอยู่นิ่งๆ แล้วนำส่งโรงพยาบาล

%e0%b8%aa%e0%b8%b0%e0%b9%82%e0%b8%9e%e0%b8%81%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%81-%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%aa%e0%b8%b9%e0%b8%87%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%b8

ที่น่าเป็นห่วงก็คือ เวลาผู้สูงอายุล้มมักจะไม่มาโรงพยาบาล เพราะคิดว่าไม่จำเป็นต้องมารักษา ทั้งที่อาจนำไปสู่ภาวะกระดูกสะโพกหักนำไปสู่ปัญหาเรื่องการเดินได้ เมื่อผู้ป่วยเดินไม่ได้ก็มีโอกาสนอนติดเตียงสูง และเมื่อนอนติดเตียงก็จะมีภาวะแทรกซ้อนตามมาจำนวนมาก อาทิ การติดเชื้อ แผลกดทับ ปอดบวม ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ลำไส้ไม่ทำงาน ท้องผูก ซึ่งจะนำมาซึ่งภาระค่าใช้จ่ายมหาศาลในอนาคต ฉะนั้นการได้รับรักษาอย่างทันท่วงทีจะช่วยแก้ปัญหาการนอนติดเตียงรวมถึงลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้

ฉะนั้น นอกจากการหาวิธีป้องกันภาวะกระดูกหักในกลุ่มผู้สูงอายุด้วยการดูแลสุขภาพ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงแล้ว ควรสังเกตอาการต่าง ๆ ของผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด หากเกิดปัญหาจะพาไปพบแพทย์ได้ทันท่วงที

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *