ประเทศอินเดียเป็นต้นทางหรือถิ่นกำเนิดศาสตร์เก่าแก่อย่างโยคะ คุณซู-มาริสา จันทรัช ครูสอนโยคะผู้เชี่ยวชาญ อธิบายว่า
หลายคนอาจเข้าใจว่าการฝึกโยคะเป็นเพียงการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง แต่แท้จริงแล้วโยคะสามารถป้องกันและรักษาโรคได้อีกมากมาย รวมถึงเบาหวาน!
ทั้งนี้การฝึกโยคะใช้หลักการยืดและคลายกล้ามเนื้อแต่ต้นจนจบพร้อมกับการกำหนดลมหายใจเข้า-ออกที่สัมพันธ์กันโดยอาศัยเทคนิคหลายๆ อย่าง
- การฝึกอาสนะของโยคะเป็นการบริหารกายแบบแอโรบิกชนิดหนึ่งที่มีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อช้าๆ ในขณะที่มีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ไกลโคเจนที่สะสมในกล้ามเนื้อจะสลายเป็นพลังงาน
- และเมื่อทำต่อไปเรื่อยๆ จะมีการใช้กลูโคสและไขมันในกระแสเลือดแทน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงและเพิ่มประสิทธิภาพของเนื้อเยื่อในการตอบสนองต่ออินซูลิน ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น
- ขณะเดียวกันเมื่อร่างกายผ่อนคลายจากการทำสมาธิ ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกก็ทำงานดีขึ้น ทำให้เกิดคลื่นแอลฟ่าในสมองและระดับสารคอร์ติซอลลดลง มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงตาม
ทั้งนี้การฝึกโยคะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดที่มีผลต่ออวัยวะภายในช่องท้องและต่อมไร้ท่อที่สำคัญ เช่น ตับอ่อน อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญอาหารที่ส่งผลให้เกิดความสมดุลในร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยต้องฝึกเป็นประจำ จะทำให้โรคเบาหวานและร่างกายโดยรวมดีขึ้น