ไวรัสซิกากับคุณแม่ตั้งครรภ์

0

สร้างความตระหนกให้บรรดาคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างมาก หลังจากสิงคโปร์และมาเลเซียมีการประกาศพบผู้ติดเชื้อไวรัสซิกา กระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ มีการพบผู้ติดเชื้อในบ้านเรา แม้ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตของผู้ป่วย แต่เหล่าคุณแม่ก็ต้องระวังให้ดีนะคะ เพราะหากติดเชื้อไวรัสซิกาอาจเสี่ยงอันตรายต่อเบบี๋ในท้องได้ค่ะ

โรคติดเชื้อไวรัสซิกา

เป็นโรคที่พบอยู่แล้วในประเทศไทยและอาเซียน  ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่อาการของโรคไม่รุนแรงและส่วนใหญ่ป่วยแล้วหายได้เอง อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ อาการเหล่านี้ทุเลาลงได้เองภายในเวลา 5 – 7 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นขอให้ไปพบแพทย์ จะมีปัญหาเฉพาะกับหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งมีหลักฐานทางระบาดวิทยาที่บ่งชี้ว่าอาจสัมพันธ์กับภาวะศีรษะเล็กในทารกแรกเกิด

zika-fever-check-with-pregnant

ทั้งนี้ยังไม่มีรายงานว่าทารกจะสมองลีบทุกคน แต่พบความผิดปกติเกิดขึ้นกับทุกคน จากการที่ซิกาส่งผลให้เส้นใยประสาททำงานผิดปกติ จึงมีผลต่อการทำงานของแขนและขา โดยอาจแสดงอาการในช่วงขวบปีที่ 2-3 ก็เป็นได้

หากหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อในสัปดาห์ที่ 12-18 เชื้อจะเข้าสู่สมองทารกโดยตรง แต่หากติดเชื้อในช่วงที่อายุครรภ์ 24-36 สัปดาห์เป็นต้นไป เชื้อไม่ได้เข้าสู่สมองเด็กโดยตรง แต่จะอาศัยอยู่ในรกเพื่อผลิตสารอักเสบที่มีผลต่อสมองเช่นกัน

ส่วนการตรวจวินิจฉัยโรค ทำได้โดยการตรวจเลือดหรือปัสสาวะ แต่ข้อจำกัดคือ ไวรัสซิกาจะอยู่ในเลือด 5 วันหลังการติดเชื้อครั้งแรก และ 14 วันในปัสสาวะ จากนั้นจะเข้าสู่รก ซึ่งมีโอกาสตรวจเจอน้อยมาก ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแต่ตรวจไม่เจอก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงทำอัลตราซาวน์ถี่ขึ้นเพื่อเช็คสภาพของเบบี๋ในท้องเป็นระยะๆ

การป้องกันตัวจากโรคติดเชื้อไวรัสซิกา

สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ทำได้โดย…

  • การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง กำจัดลูกน้ำและยุงลาย ระวังอย่าให้มีน้ำขังในภาชนะบรรจุน้ำกลางแจ้ง
  • ป้องกันไม่ให้ยุงกัด ด้วยการนอนในมุ้ง หรือห้องที่มีมุ้งลวด ทายากันยุงที่ทำจากสมุนไพร เช่น ตะไคร้หอม สวมเสื้อผ้าเนื้อหนาสีอ่อนๆ ปกคลุมผิวหนังและร่างกาย
  • หากมีอาการไข้ ห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพราะอาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้หญิงตั้งครรภ์

หากมีอาการผิดปกติแม้เพียงเล็กน้อยให้แจ้งแพทย์ทันที นอกจากนี้ก่อนเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรค ควรปรึกษาแพทย์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *