บวมแบบไหนผิดปกติช่วงตั้งครรภ์

0

อาการบวมระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นปฏิกิริยาทางธรรมชาติที่มีต่อปริมาณของเหลวในร่างกายที่เพิ่มขึ้น คุณแม่ส่วนใหญ่จะรู้สึกบวมที่บริเวณข้อเท้าและเท้าหากต้องยืนนานๆ   บางคน   แต่บางคนก็บวมตั้งแต่หน้ามือ  ไปจนถึงขาและเท้าเลยทีเดียว  ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นผลพวงจากการตั้งครรภ์จะเริ่มปรากฏอาการในช่วงเดือนที่ 3-4  และจะชัดเจนมากในช่วงไตรมาสสุดท้ายคือ ตั้งแต่ช่วงเดือนที่ 7 เป็นต้นไป

 บวมแบบไหนผิดปกติช่วงตั้งครรภ์ (3)

ลักษณะทั่วไปของอาการบวม

  • อาการบวมจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ช่วงตอนกลางวันและบวมเพิ่มมากขึ้นในช่วงเย็น
  • มักเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ในระหว่างวันของคุณแม่ เช่น  ยืนเดินเป็นเวลานาน
  • เกิดสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว
  • อาการบวมระหว่างตั้งครรภ์โดยทั่วไปอาจทำให้คุณรู้สึกอึดอัด แต่หากปราศจากอาการอื่นๆร่วมด้วยนั้นไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลและไม่เป็นอันตรายต่อคุณและลูกน้อย

200377468-001

วิธีการลดอาการบวมระหว่างตั้งครรภ์

  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพที่เชื่อกันว่าสามารถลดบวมได้ เช่น     กระเทียม   หัวหอมสด   และแอปเปิ้ลมีประสิทธิภาพดีเป็นพิเศษ    และควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มซึ่งจะทำให้ขาดน้ำได้
  • พยายามออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะ การออกกำลังกายด้วยการเดิน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละหกถึงแปดแก้ว หรือทานผักผลไม้ที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก หากคุณดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ ร่างกายของคุณอาจพยายามกักเก็บน้ำไว้ในร่างกายมากขึ้น ซึ่งจะทำให้คุณยิ่งบวมขึ้น
  • หาเวลาพักผ่อนระหว่างวัน    โดยพาดเท้าไว้ให้สูงกว่าระดับเอว
  • หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินเป็นระยะเวลานานๆ
  • นวดแบบผ่อนคลาย
  • นอนตะแคงซ้ายเพื่อหลีกเลี่ยงการทิ้งน้ำหนักไปกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ที่ชื่อว่าเวนาคาวา ( vena cava) ซึ่งอยู่ทางด้านขวาของร่างกาย

บวมแบบไหนผิดปกติช่วงตั้งครรภ์ (1)

หากมีอาการบวมมากเกินไปอาจเป็นเพราะความดันเลือดสูงขึ้น  ซึ่งคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตอาการดังต่อไปนี้    เพราะอาจส่งสัญญาณให้คุณแม่ต้องรีบปรึกษาสูตินรีแพทย์โดยทันที

ลักษณะอาการบวมที่ควรปรึกษาแพทย์

  • เกิดอาการบวมขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น หน้าบวม ตัวบวม หรือข้อนิ้วบวมจนถอดแหวนออกไม่ได้อย่างรวดเร็ว
  • น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • มีอาการปัสสาวะน้อยลง
  • ปวดศีรษะมาก หรือมีอาการตาพร่ามัว หรือ มองเห็นแสงเป็นจุดๆ
  • รู้สึกจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่

หากคุณแม่ไม่แน่ใจว่าอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกายจัดอยู่ในเกณฑ์ผิดปกติหรือไม่  อย่าลังเลที่จะรีบปรึกษาคุณหมอก่อนจะแก้ไขไม่ทันการณ์นะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *