คัดกรองทารกตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ลดความเสี่ยงดาวน์ซินโดรมได้!

0

ข้อมูลจาก รศ.นพ.ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารก ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า…

 ในอดีตการคัดกรองดาวน์ซินโดรมในประเทศไทยจะใช้อายุมารดาเป็นหลัก เพราะเข้าใจว่า มารดาอายุเกิน 35 ปี มีความเสี่ยงสูง ทำให้หญิงตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 35 ปี ขาดโอกาสที่จะได้รับการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยก่อนคลอด ทั้งที่ การคัดกรองด้วยการเจาะเลือด เจาะน้ำคร่ำ หรือ อัลตราซาวนด์ ควรทำในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ทุกราย

อย่างไรก็ตาม วิธีการเจาะเลือดเพื่อตรวจสารชีวเคมีในเลือดมารดาขณะนั้นเป็นการยึดหลักแปลผลข้อมูลความเสี่ยงที่อ้างอิงการศึกษาข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ในต่างประเทศ ด้วยโครงสร้างร่างกายคนไทยและชาวต่างชาติแตกต่างกัน จึงส่งผลให้ความแม่นยำแปลผลแตกต่างไป

screening-babies-from-the-onset-of-pregnancy-reduce-the-risk-of-down-syndrome

นอกจากนี้หากใช้เฉพาะอายุมารดาเป็นตัวคัดกรอง จะพบทารกในครรภ์ที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมเพียงร้อยละ 5 จากทารกแรกคลอดที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมประมาณ 700 – 800 คนต่อปี

ดังนั้น เพื่อหารูปแบบการคัดกรองที่เหมาะสมของคนไทย จึงเกิดเป็นโครงการวิจัย “การควบคุมและป้องกันกลุ่มอาการดาวน์ด้วยวิธีก่อนคลอดในปี 2555 – 2560” โดยมีการตรวจหาปริมาณสารชีวเคมีในซีรั่ม (Serum) เพื่อคัดกรองหาผู้ที่เสี่ยงสูงต่อการมีลูกในท้องเป็นดาวน์และแนะนำให้ตรวจยืนยันโครโมโซมในหญิงตั้งครรภ์ที่เสี่ยงสูงด้วยการเจาะน้ำคร่ำ ทำให้ได้รูปแบบการคัดกรองที่เหมาะสม มีการแปลผลที่แม่นยำขึ้น โดยสามารถคัดกรองทารกในครรภ์ที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมได้ถึงร้อยละ 80 จากทารกแรกคลอดที่มีภาวะดาวน์ซินโดรม

เห็นหรือยังคะว่าการฝากครรภ์และการตรวจคัดกรองตั้งแต่ระยะแรกเริ่มตั้งครรภ์มีความสำคัญมากแค่ไหน ไม่อยากเสี่ยงจากความผิดปกติหรือโรคต่างๆ ของทั้งตัวคุณแม่และเบบี๋ ก็ต้องรีบฝากครรภ์นะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *