การเปลี่ยนแปลงชั่วข้ามคืนที่มาพร้อม หน้าที่ ความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงในฐานะคุณแม่ ย่อมส่งผลให้อารมณ์ของคุณแม่เกิดแปรปรวนฉุนเฉียวหรือซึมเศร้าขึ้นมาได้แบบไม่มีปีมีขุล่ย ซึ่งบางส่วนก็มีผลเชื่อมโยงมาจากการปรับเปลี่ยนฮอร์โมนในร่างกายโดยฉับพลันด้วย ดังนั้นสิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิ่งคุณแม่ควรศึกษาและทำความเข้าใจตัวเอง เพื่อที่ได้จัดการกับอารมณ์ต่างๆ ได้ค่ะ
ต้นเหตุอารมณ์แปรปรวน
เหนื่อยล้า
ทั้งการคลอดและเลี้ยงลูกอ่อนที่ต้องดูแลแทบจะตลอด 24 ชั่วโมง จนทำให้ไม่มีเวลาพักผ่อนทำเองให้คุณแม่เหนื่อยมากจนทำให้ฟิวส์ขาดขึ้นมาได้ง่ายๆ
วิตกกังวล
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของชีวิต รวมถึงความเป็นแม่มือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ ทำให้แม่ทั้งหลายเกิดความวิตกกังวลกับสารพัดเรื่อง ตั้งแต่เรื่องรูปร่างที่เปลี่ยนไป เรื่องเลี้ยงลูก เรื่องงาน เรื่องรายได้ ความมั่นคงในชีวิต ฯลฯ ซึ่งล้วนสร้างความเครียดให้เกิดขึ้นทั้งสิ้น
ความคาดหวังความสมบูรณ์แบบ
หลายๆ ตั้งใจจะเป็นแม่ที่ดีที่สุด จึงทุ่มเททำสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อลูกจนลืมดูแลตัวเอง ลืมที่จะมองข้ามความผิดพลาดบางเรื่องที่เกิดขึ้น… ต้องเลี้ยงลูกเอง ต้องดูแลทั้งลูกและสามีให้ดีที่สุด ต้องเก่งทั้งในบ้านนอกบ้าน ฯลฯ ความคิดเหล่านี้จึงเป็นการกดดันให้ตัวคุณแม่รู้สึกผิด เครียดโดยไม่จำเป็น
ฮอร์โมนเปลี่ยน
การที่ระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปสเจนเตอโลนลดลงหลังคลอด กระตุ้นให้อารมณ์ของคุณแม่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าปกติด้วยเช่นกัน
วิธีจัดการอารมณ์แปรปรวน
พักผ่อนนอนเอาแรง
เรื่องนี้คุณแม่ต้องปรับตัว หาเวลาที่จะพักผ่อนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำให้ เช่น หลับพร้อมลูก งานบ้านที่ไม่เร่งด่วนก็ปล่อยไปก่อน รวมถึงอาจจะหาผู้ช่วยมาพลัดมือเพื่อเลี้ยงลูกบ้างเพื่อให้คุณแม่มีเวลาพักผ่อนบ้าง
เปลี่ยนบรรยากาศ
ไม่ใช่เรื่องผิดที่คุณแม่จะเบรกจากการเลี้ยงลูก ไปกินข้าวมื้ออร่อยสักมื้อ ไปสปานวดตัวสักชั่วโมงถือเป็นการปลี่ยนบรรยากาศ ผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจไปในตัว เพียงแต่วางแผนให้ดีก็แฮปปี้ได้ค่ะ
ปรับใจเปลี่ยนความคิด
สำหรับคุณแม่ที่เป็นสาวนิยมความเพอร์เฟ็ค คงต้องพยายามลดเรื่องนี้ลง จะได้ไม่กดดันทำให้ตัวเองรู้สึกผิดอยู่ตลอดเวลา พยายามปรับความคิดว่าทุกคนล้วนมีเรื่องที่ไม่ถนัด มีข้อจำกัด ถ้าตั้งความหวังสูงมากๆ โอกาสพลาดก็ย่อมต้องมีมากเป็นธรรมดา
ปรึกษา หาคนช่วย
การที่คนที่จะรับฟังและให้คำปรึกษา แนะนำ ในเรื่องต่างๆ ได้ จะเป็นหนทางที่ช่วยให้แม่คลายความกดดันได้ดี เพราะฉะนั้นคนสำคัญที่จะช่วยได้ก็คือในครอบครัว คุณพ่อ(สามี) ญาติพี่น้อง ต้องร่วมกันดูแลคุณแม่ทั้งในเรื่องแรงกายและแรงใจค่ะ ถ้าไม่ไหวหรือสึกว่าตัวเองผิดปกติก็ต้องรีบบอกรีบสังเกตจะได้ช่วยกันแก้ไขแต่ต้น
การเปลี่ยนแปลงภาวะทางอารมณ์ของคุณแม่หลังคลอดที่อาจจะขึ้นสุดลงสุดภายในเวลาไม่กี่นาทีนี้ เป็นภาวะที่นอกจากคุณแม่จะต้องพยายามจัดการกับอารมณ์ตัวเองแล้ว คนรอบข้างก็ควรจะทำความเข้าใจช่วยเหลือปลอบโยน ก็จะทำให้คุณแม่สามารถคลี่คลายจากภาวะนี้ได้ง่ายและเร็วขึ้นค่ะ
รู้จักภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
“ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด แบ่งออกป็น 2 ชนิด คือ อารมณ์เศร้าหลังคลอด หรือ Baby Blue ซึ่งคุณแม่จะเกิดความรู้สึกเศร้าๆ แล้วหายไปในเวลาเพียง 2-3 วัน ไม่ถือว่าเป็นความผิดปกติร้ายแรงอะไร
แต่ในคุณแม่ที่มีอาการรุนแรงมากกว่าความเศร้าเฉยๆ เช่น ซึม ท้อแท้ ความวิตกกังวล หรืออยากฆ่าตัวตายร่วมด้วย อาการเช่นนี้ทางการแพทย์ถือว่าเป็นความผิดปกติ หรือเป็นโรคที่เรียกว่า โรคซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum Depression ซึ่งต้องได้รับการดูแลรักษาจากคุณหมอมิฉะนั้นอาการอาจจะรุนแรงมากขึ้นจนกลายเป็นโรคทางจิตอื่นๆ ตามมาได้”